การจัดการการเงินและการลงทุน

วัฒนธรรมองค์การคือสิ่งที่อธิบายสภาพแวดล้อมภายในองค์การที่รวมเอาข้อสมมุติ ความเชื่อ และค่านิยมที่สมาชิกขององค์การมีร่วมกันและใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับโครงสร้างอย่างเป็นทางการในการกำหนดรูปแบบพฤติกรรม (Gordon, 1999) วัฒนธรรมองค์กรยังรวมถึง การแสดงให้เห็นถึงค่านิยม ความรู้ ความคิด ศีลธรรม ประเพณี เทคโนโลยีตลอดจนสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ความเชื่อถือศรัทธาร่วมกันของบรรดาสมาชิกภายในองค์การนั้น ๆ และทั้งแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ปรัชญา ตำนาน นิยาย เรื่องราว และภาษาพิเศษ ฯลฯ (Moorherad & Griffin, 1995)

การศึกษาองค์กร ธุรกิจที่ยั่งยืนมากมาย (e.g. Avery, 2005; Avery & Bergsteiner, 2011) พบว่า วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนแห่งองค์กร เนื่องจากว่าการมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งจะสามารถทำให้สมาชิกแห่งองค์กร ร่วมแรงร่วมใจทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและร่วมแรงร่วมใจฝ่าฟันในยามที่ เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม วัฒนธรรมองค์กรยังทำหน้าที่เหมือนกฎที่คอยควบคุมการปฏิบัติตนของคนในองค์กร แม้ในยามที่ไม่มีใครคอยสอดส่องควบคุม (Daft, ) จึงถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือ ขนาดใหญ่ใหญ่ ต้องมีวัฒนธรรมองค์กรไว้เพื่อช่วยยึดเหนี่ยวและเป็นทิศทางในการกำกับการทำ งานสำหรับคนในองค์กร โดยวัฒนธรรมองค์กรจะช่วยทำให้แนวคิดของสมาชิกในองค์กรให้ตัดสินใจไปในทิศทาง เดียวกันมากขึ้น จึงมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนแห่งองค์กรในภาวะปัจจุบันซึ่ง สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ไม่ได้

+ รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม

หัวใจสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรคือ ค่านิยมร่วมแห่งองค์กร ซึ่งเป็นแก่นวิธีคิด ความเชื่อ หรือหลักการสำคัญที่กำหนดขึ้นมาโดยผู้ก่อตั้งหรือสมาชิกรุ่นต่อ ๆ มาขององค์กร ส่งผ่านจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยให้สมาชิกทุกคนยึดถือเป็นหลักสำคัญ เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า ค่านิยมเรื่องเรื่องความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี หรือการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ก้าวหน้าเร็วกว่าคนอื่นตลอดเวลา หรือค่านิยมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นต้น และให้สมาชิกทุกคนในองค์กรนำค่านิยมเหล่านั้นมาประยุกต์และปรับใช้ในทุก ๆ เรื่องในการทำงานและการตัดสินใจต่าง ๆ ประจำวัน

องค์กรธุรกิจไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญอย่างเป็นรูปธรรมต่อการจัดการวัฒนธรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพและใช้งานได้จริง หลายองค์กรวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมร่วมต่าง ๆ เป็นเพียงแค่ข้อความบนกระดาษเพื่อรอให้หน่วยงานรับรองมาตรฐานต่าง ๆ เข้ามาตรวจสอบนอกเหนือไปจากนี้แล้วระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ ในองค์กร ยังไม่ส่งเสริมการมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งอีกด้วย เช่น การนำเอาบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นผู้บริหารโดยไม่คำนึงถึงค่านิยมส่วนตัวว่าสามารถเข้ากันได้กับวัฒนธรรมและค่านิยมร่วมที่มีอยู่เดิมหรือไม่ บางทีนำบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นผู้บริหารสูงสุดแต่ทำลายค่านิยมร่วมแห่งองค์กรเดิม หรือการที่ไม่ให้ความสำคัญกับพนักงานจนพนักงานลาออกบ่อย ๆ จนทำให้ค่านิยมร่วมแห่งองค์กรเกิดขึ้นได้ยาก เหล่านี้เป็นตัวอย่างของการไม่บริหารจัดการค่านิยมร่วมแห่งองค์กรที่เห็นได้ ทั่วไปในภาคธุรกิจของไทย

วัฒนธรรมในองค์กรสามารถพัฒนาขึ้นได้ไม่เว้น แม้แต่องค์กรธุรกิจเล็ก ๆ เช่น การเอาใจใส่ลูกค้าเพื่อการบริการที่เป็นเลิศ โดยการยิ้มและบริการด้วยความเต็มใจ เหล่านี้ถือเป็นวัฒนธรรมที่ดีสำหรับธุรกิจบริการ ซึ่งไม่ว่าจะองค์กรใหญ่หรือเล็กล้วนต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวเพื่อทำให้พนักงานทุกคนมีการตัดสินใจไปในทางเดียวกันและเดินหน้าไปด้วยกันตามจุดมุ่งหมายแห่งองค์กรนั่นเอง

ผู้เชียวชาญ
การจัดการการเงินและการลงทุน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วินัย วงศ์สุรวัฒน์
  • อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
Contact: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ตัวอย่างองค์กรพอเพียง

ตัวอย่าง องค์กรขนาดเล็ก
คุณสมิต ทวีเลิศนิธิ
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด
ตัวอย่าง องค์กรขนาดกลาง
คุณสุกานดา อรุณภัทรสกุล
ผู้อำนวยการ
บริษัท แปลนครีเอชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Copyright © 2017 Sufficiency Economy Business. All Rights Reserved.
Center for Research on Sustainable Leadership
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.