ลงชื่อร่วมต้านการสร้างทางด่วน
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่ขอสนับสนุนทางด่วนทุกรูปแบบ
จากการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 9.30-12.00 น. ณ ห้องจูปิเตอร์ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

          ดร. ดำรงค์ ศรีพระราม รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหารกิจการภายใน ผศ. รัชด ชมภูนิช รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร ผศ.ดร. สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม และคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)

          การศึกษานี้เพื่อทบทวนและเสนอแนะการดำเนินโครงการด้านคมนาคมขนส่งใดๆ เพื่อใช้ประโยชน์เสาตอม่อ ที่ก่อสร้างไว้แล้วบนกึ่งกลางถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) โดยศึกษาความเหมาะสมทางวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ออกแบบเบื้องต้น และประมาณราคาค่าก่อสร้างโครงการ บริษัทที่ปรึกษาได้นำเสนอรูปแบบทางเลือกในการพัฒนาโครงการ 4 รูปแบบ คือ

          รูปแบบทางเลือกที่ 1 – การพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน

          รูปแบบทางเลือกที่ 2 – การพัฒนาด้วยโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor (โครงข่ายเชื่อมต่อจากตอน N2 กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9)

          รูปแบบทางเลือกที่ 3 - การพัฒนาด้วยโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายกับแนวโครงข่ายทดแทน N1 แนวคลองบางบัวและคลองบางเขน

          รูปแบบทางเลือกที่ 4 – การพัฒนาทั้งสองระบบ คือ ระบบขนส่งมวลชน และทางด่วนบนแนวสายทางเดียวกัน

          จากผลการศึกษา บริษัทที่ปรึกษากล่าวเหมาสรุปว่า รูปแบบทางเลือกที่ 4 มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยระบบทางด่วนมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ควรรีบดำเนินการ ส่วนระบบรถไฟฟ้าควรดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางสายหลัก ที่ต้องเสร็จสิ้นก่อนการเปิดใช้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เนื่องจากสายสีน้ำตาลเป็น feeder ที่จะเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างระบบขนส่งมวลชนทางรางสายหลัก

          ต่อมา ดร. ดำรงค์ ศรีพระราม ได้แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมว่า มก. สนับสนุนการพัฒนาด้วยระบบขนส่งมวลชน คือ สายสีน้ำตาล เนื่องจากเป็นวิธีการเดินทางที่สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในเมือง ช่วยลดปัญหามลภาวะทางอากาศ ซึ่งขณะนี้ กรุงเทพฯ กำลังประสบปัญหาฝุ่นละออง ที่เรียกว่า PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจได้ อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือด หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งฝุ่นละอองนี้มีสาเหตุหลักมาจากการใช้รถยนต์ การพัฒนาใด ๆ ก็ตาม มก. สนับสนุนการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน ไม่ส่งผลเสียต่อประชาชนในปัจจุบันและอนาคต

          และ ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า วิธีการแก้ปัญหา PM 2.5 ที่ดีที่สุด ทำได้โดยการลดที่ต้นกำเนิด คือ ลดการใช้รถยนต์ ดังนั้น การก่อสร้างทางด่วนบนแนวสายทางนี้ จะเป็นการดึงเอารถยนต์จำนวนมาก ผ่านเข้ามาในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อผู้ที่อาศัย ทำงาน และศึกษาอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

          **** ดังนั้น มก. จึงสนับสนุนทางเลือกที่ 1 คือ พัฒนาเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล และไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และส่วนต่อขยายกับแนวโครงข่ายทดแทน N1 ****

          ต่อจากนั้น ผู้แทนจากชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่บริเวณแนวสายทาง เช่น ชุมชนบางบัว ชุมชนปัฐวิกรณ์ ผู้แทนจากหมู่บ้านธนะสิน ผู้แทนจากนวธานี ผู้แทนจากสภาวิชาการ ได้สนับสนุนข้อเสนอแนะของ มก. ในการพัฒนาเฉพาะรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เพื่อลดผลกระทบจากมลพิษต่อประชาชนในเมือง ส่งเสริมการลดการใช้รถยนต์ และการสร้างทางด่วนบนรถไฟฟ้าไม่มีความจำเป็น เนื่องจากถนนเกษตร-นวมินทร์ มีปัญหาการจราจรติดขัดเฉพาะบริเวณทางแยก การสร้างสะพานลอยข้ามทางแยกทุกแห่ง จะช่วยแก้ปัญหาได้เพียงพอแล้ว หากมีการสร้างทางด่วนบนรถไฟฟ้า จะต้องสร้างตอม่อเพิ่ม ปัจจุบัน ถนนเกษตร-นวมินทร์ มีตอม่อทุกระยะ 40 เมตร หากมีทางด่วน จะมีตอม่อเพิ่มเป็นทุกระยะ 20 เมตร ทำให้ทัศนียภาพแย่ลงมาก นอกจากนี้ ผู้แทนจากชุมชนยังมีความเป็นห่วงเรื่องการเวนคืนที่ดิน เพื่อสร้างทางต่างระดับเชื่อมเข้ากับทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) และบริเวณจุดขึ้นลงทางด่วนอีกด้วย
Sign in to Google to save your progress. Learn more
ลงชื่อ - สกุล และสังกัดหน่วยงาน ผู้ร่วมต้านการสร้างทางด่วน
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This form was created inside of มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Report Abuse