ประเมินหลักสูตร
    การคัดสรรประสบการณ์ที่หน่วยพัฒนาครูเตรียมการมาเพื่อให้ครูได้รับความรู้ ทักษะ และความเป็นครูที่มีคุณภาพ สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติการพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีและมีคุณภาพกับนักเรียนได้ตรงตามความมุ่งหวังที่เข้ารับการพัฒนาจากหลักสูตรนั้นๆ
    การประเมินหลักสูตรจะกระทำภายใต้หลักวิชาการและเป็นระบบ มีเหตุผลทางวิชาการ สามารถอธิบายได้ ด้วยกระบวนการ Peer review โดยผู้ทรงคุณวุฒิในแขนงวิชานั้นหรือใกล้เคียงมากที่สุด
Sign in to Google to save your progress. Learn more
การประเมินหลักสูตรตามระดับความลุ่มลึกของหลักสูตร ดังนี้
การประเมินขั้นพื้นฐาน เป็นการประเมินแบบ “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน”
โดยทุกหลักสูตรจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
     1. การตั้งชื่อหลักสูตรที่ใช้คำไม่สุภาพ มุ่งโฆษณาหรือเรียกร้องความสนใจมากกว่าการสื่อสาระชื่อหลักสูตรที่ไม่สามารถระบุความสัมพันธ์หรือสอดคล้องกับสาระการพัฒนาได
     2. คณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรคนใดคนหนึ่งไม่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี หรือรับผิดชอบเกิน 3 หลักสูตร หรือมีไม่ครบ 2 คน
     3. กำหนดเป้าหมายจำนวนครูที่เข้ารับการพัฒนามีจำนวนมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
     4. วิทยากรมีคุณสมบัติไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนด และสัดส่วนจำนวนวิทยากรกับจำนวนครูที่เข้ารับการพัฒนาไม่เป็นไปตามเกณฑ์
     5. สาระของหลักสูตรออกแบบ ไม่สะท้อนถึงการบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical content knowledge : PCK ) และ/หรือ การหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK )
การประเมินองค์ประกอบหลักสูตร
การประเมินองค์ประกอบของหลักสูตร หลักสูตรที่จะผ่านการรับรองต้องผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ต่อไปนี้
➢ หลักสูตรที่ได้รับการรับรองจะต้องได้รับคะแนนการประเมินทุกประเด็นการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับคะแนน 1 หากมีประเด็นใดประเด็นหนึ่งได้คะแนน 0 (ศูนย์) จะถือว่าหลักสูตร ไม่ผ่านการรับรอง
➢ หลักสูตรที่ผ่านการรับรองจะต้องได้ค่าคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่า   ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม
➢ หลักสูตรที่ผ่านการรับรองจะต้องได้ค่าคะแนนผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิทุกคน ไม่น้อยกว่า   ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม และมีค่าเฉลี่ยรวม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม
➢ หลักสูตรที่ผ่านการรับรองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะบรรณาธิการหลักสูตรและได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการดำเนินงานของสถาบันคุรุพัฒนาและคณะกรรมการคุรุสภา
ประเมินหลักสูตร เรื่อง *
ใส่ชื่อหลักสูตร
แนวคิดและหลักการของหลักสูตร
    หมายถึง การแสดงพื้นฐานแนวคิด ที่มาของการพัฒนาหลักสูตรได้อย่างสมเหตุสมผล มีหลักการทางวิชาการสนับสนุน มีกรอบแนวคิดในการทำงานชัดเจน โดยหลักสูตรที่ดีต้องสามารถสะท้อน ในประเด็นต่อไปนี้ได้
           (1) สะท้อนภาพที่พึงประสงค์หากสาระของหลักสูตรนี้มีความสมบูรณ์จะเกิดผลอย่างไรกับครูและนักเรียน
           (2) สภาพปัจจุบันของประเด็นที่กำลังจะพัฒนาครูเป็นเช่นไร มีกระบวนการค้นหา ความต้องการจำเป็น (Need assessment) อย่างไร
           (3) ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อกรณีประเด็นนี้เป็นอย่างไร
           (4) แนวคิดของหลักสูตรที่จะดำเนินการในครั้งนี้เป็นอย่างไร
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
ข้อ 1 ชี้ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในบริบทการศึกษาไทยที่สัมพันธ์กับหลักสูตรที่นำเสนอ
ข้อ 2 แนวคิดสอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และระบุช่วงชั้นได้ชัดเจน
ข้อ 3 มีร่องรอยการดำเนินการค้นหาความต้องการจำเป็นของหลักสูตร (Need Assessment) จากกลุ่มครูที่เป็นกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
ข้อ 4 นำเสนอกรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ทางวิชาการในหลักสูตรที่สะท้องถึงการบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical Content Knowledge : PCK ) หรือการหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK )
ข้อ 5 ระบุทักษะและคุณลักษณะเป้าหมายที่จะพัฒนาครูไว้อย่างชัดเจน
วัตถุประสงค์หลักสูตร
หมายถึง การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่สะท้อนพฤติกรรมที่ครูจะเปลี่ยนแปลงหลังเสร็จสิ้นการพัฒนาตามหลักสูตร ซึ่งวัตถุประสงค์หลักสูตร กำหนดกรอบการเรียนรู้ที่สำคัญไว้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) การเรียนรู้ลักษณะความรู้ (Knowledge) (2) การเรียนรู้ทักษะ (Skill) และ (3) การเรียนรู้ความเป็นครู (Attribute)
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
ข้อ 1 ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ด้านความรู้ (Knowledge) ทั้งความรู้เฉพาะ (Specific Knowledge) และความรู้ศาสตร์วิชาชีพครู (Pedagogy Content) และความรู้ที่เป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์วิชาชีพครูกับสาระ (Pedagogical Content Knowledge) ไว้อย่างชัดเจนครบถ้วนทั้ง 3 ประเด็น
ข้อ 2 ระบุวัตุประสงค์การเรียนรู้ครบทั้ง 3 ประเด็น ชัดเจนอย่างน้อย 2 ประเด็น
ข้อ 3 ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ครบทั้ง 3 ด้าน ชัดเจนเพียง 1 ประเด็น
ข้อ 4 วัตถุประสงค์การเรียนรู้ครบทั้ง 3 ด้าน แต่ไม่ชัดเจนทั้ง 3 ประเด็น
ระดับความลุ่มลึกของสาระการพัฒนา
หมายถึง การออกแบบหลักสูตรที่สะท้อนระดับความเข้มข้น ลุ่มลึกของเนื้อหา สาระ และสะท้อนการบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical Content Knowledge : PCK ) หรือ การหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK )
หลักสูตรระดับพื้นฐาน
   (1) สร้างหรือทบทวนการเรียนรู้ในระดับความรู้ ความจำ ความเข้าใจ ที่เป็นแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
และ/ หรือ
   (2) สร้างหรือทบทวนทักษะพื้นฐานเริ่มต้น เพื่อที่จะเป็นฐานในการเรียนรู้ทักษะขั้นพัฒนาต่อไปได้
และ/หรือ
   (3) ให้ข้อมูล หรือสร้างแนวการปฏิบัติตนเพื่อความเป็นครูที่ดีตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
และ
   (4) มีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมง
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
ข้อ 1 มีจำนวนชั่วโมงการอบรม ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง
ข้อ 2 สาระในหลักสูตรนำเสนอเป็นการสร้างหรือทบทวนความรู้ ความเข้าใจ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ที่เป็นแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนั้น
ข้อ 3 สาระในหลักสูตรสร้างหรือทบทวนทักษะพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับหลักการและทฤษฎี (Theory and Practice)
ข้อ 4 สาระในหลักสูตรมีการฝึกปฏิบัติการบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical Content Knowledge : PCK ) หรือการหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ(Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK ) ใช้ความรู้และทักษะนั้นเพื่อการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนหรือมุ่งเป้าที่การเรียนรู้ของนักเรียน
ข้อ 5 สาระในหลักสูตรมีการให้ข้อมูล หรือสร้างแนวการปฏิบัติตนเพื่อความเป็นครูที่ดี ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
หลักสูตรระดับกลาง
   (1) สร้างการเรียนรู้ในระดับที่สูงกว่าการให้ข้อมูลระดับความรู้ ความจำ ความเข้าใจ แต่จะต้องมีการสร้างกิจกรรมที่ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ที่เกิดจากการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์คิดขั้นสูง (Higher Order Thinking)
และ
   (2) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้ครูที่เข้ารับการพัฒนาสร้างสรรค์ สรุปองค์ความรู้ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างองค์ความรู้จากทฤษฎี องค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การปฏิบัติในชั้นเรียน และ มีกระบวนการ สรุปสร้างข้อเสนอทางวิชาการในเรื่องนั้นๆ
และ/หรือ
   (3) สร้าง หรือพัฒนาทักษะที่เป็นการ ต่อยอด เป็นการเชื่อมโยงการปฏิบัติที่ใช้ทักษะย่อยตั้งแต่สองทักษะขึ้นไปมาปฏิบัติหรือฝึกปฏิบัติร่วมกัน
และ/หรือ
   (4) ให้ข้อมูล หรือสร้างแนวการปฏิบัติตนเพื่อความเป็นครูที่ดี และมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมการพัฒนาด้วยกันเองในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับจรรยาบรรณของวิชาชีพ
และ
   (5) มีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
ข้อ 1 มีจำนวนชั่วโมงการอบรม ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
ข้อ 2 สาระในหลักสูตรมีกิจกรรมที่ใช้กระบวนการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ที่เกิดจากการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดขั้นสูง (Higher Order Thinking)
ข้อ 3 สาระในหลักสูตรเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้ครูที่เข้ารับการพัฒนาสร้างสรรค์ สรุปองค์ความรู้ขึ้นที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างองค์ความรู้จากทฤษฎี องค์ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การปฏิบัติในชั้นเรียน และมีกระบวนการสรุปสร้างข้อเสนอทางวิชาการในเรื่องนั้นๆ
ข้อ 4 สาระในหลักสูตรมีการฝึกปฏิบัติการบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical Content Knowledge : PCK ) หรือการหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK ) ใช้ความรู้และทักษะนั้นเพื่อการเปลี่ยนแปลง การเรียนการสอน หรือพุ่งเป้าที่การเรียนรู้ของนักเรียน
ข้อ 5 สาระในหลักสูตรมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูและบุคลากร ทางการศึกษาที่เข้าร่วมการพัฒนาในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับจรรยาบรรณของวิชาชีพ
หลักสูตรระดับสูง
   (1) สร้างการเรียนรู้ในระดับก้าวหน้าที่มีทั้งการให้ข้อมูล องค์ความรู้ ในระดับที่สูงสุดของความรู้ในเรื่องนั้นๆ ที่มาจากฐานงานวิจัย การค้นคว้า การสังเคราะห์ข้อมูลอย่างซับซ้อน
และ
   (2) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Producing innovation) ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาในเรื่องนั้นๆ และนำไปสู่การปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนรู้สู่นักเรียน
และ
   (3) มีการใช้กระบวนการวิจัยอย่างง่ายเพื่อการสร้างสรรค์งานวิชาการร่วมกันหรือเป็นกิจกรรมรายบุคคล ที่มีระบบการนำเสนอและสะท้อนคิดต่องานดังกล่าว
และ/หรือ
   (4) สร้างหรือพัฒนาทักษะที่เป็นการต่อยอดเป็นการเชื่อมโยงการปฏิบัติที่ใช้ทักษะย่อยตั้งแต่สองทักษะขึ้นไปมาปฏิบัติหรือฝึกปฏิบัติร่วมกัน
และ/หรือ
   (5) ให้ข้อมูล หรือสร้างแนวการปฏิบัติตนเพื่อความเป็นครูที่ดี และมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู และบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมการพัฒนาด้วยกันเองในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับจรรยาบรรณของวิชาชีพ
และ
   (6) มีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
ข้อ 1 มีจำนวนชั่วโมงการอบรม ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
ข้อ 2 สาระในหลักสูตรมีสร้างการเรียนรู้ในระดับก้าวหน้าที่มีทั้งการให้ข้อมูล องค์ความรู้ ในระดับที่เป็นสุดขอบแดนของความรู้ในเรื่องนั้นๆ ที่มาจากฐานงานวิจัย การค้นคว้า การสังเคราะห์ข้อมูลอย่างซับซ้อน
ข้อ 3 สาระในหลักสูตรมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Producing innovation) ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาในเรื่องนั้นๆ และนำไปสู่การปฏิบัติจริงในการถ่ายทอดจัดการเรียนรู้ สู่นักเรียน
ข้อ 4 สาระในหลักสูตรมีการใช้กระบวนการวิจัยที่สะท้อนการบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical content knowledge : PCK ) และ/หรือ การหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK) เพื่อการสร้างสรรค์งานวิชาการร่วมกันหรือเป็นกิจกรรมรายบุคคล ที่มีระบบการนำเสนอ และสะท้อนคิดต่องานดังกล่าว
ข้อ 5 สาระในหลักสูตรมีการให้ข้อมูลหรือสร้างแนวการปฏิบัติตนเพื่อความเป็นครูที่ดี และ มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู และบุคลากรทางการศึกษาที่เข้าร่วมพัฒนาในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับจรรยาบรรณของวิชาชีพ
สาระการพัฒนา
หมายถึง การกำหนดเนื้อหาความรู้ ทักษะหรือความเป็นครูที่เป็นแกนของหลักสูตรที่จะทำให้ครูเกิดการเรียนรู้ โดยมีลักษณะของการบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical Content Knowledge : PCK ) และ/หรือ การหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK )
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
ข้อ 1 เนื้อหาสาระในหลักสูตรกำหนดให้มีสาระความรู้เฉพาะทางสเปเชียลลิส (Specific Content knowledge) ได้อย่างชัดเจนแล้วทำการเปลี่ยนแปลง
ข้อ 2 เนื้อหาสาระในหลักสูตรกำหนดให้มีสาระความรู้ด้านวิชาชีพครู pedagogy หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศึกษาศาสตร์อย่างชัดเจนและทันการเปลี่ยนแปลง
ข้อ 3 เนื้อหาสาระในหลักสูตรกำหนดให้มีสาระความรู้ที่สะท้อนถึงการบูรณาการระหว่างความรู้ด้านวิชาครูเข้ากับธรรมชาติของสาระความรู้เฉพาะทางไว้อย่างชัดเจน
ข้อ 4 เนื้อหาสาระในหลักสูตรมีการออกแบบกิจกรรมภาคปฏิบัติและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการอบรมไว้อย่างชัดเจน
ข้อ 5 เนื้อหาสาระในหลักสูตรมีหัวข้อหรือกิจกรรมที่สะท้อนถึงการเชื่อมโยงจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนได้จริง
กระบวนการพัฒนา
หมายถึง การออกแบบกิจกรรมการพัฒนา การสร้างบรรยากาศ โดยการบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical Content Knowledge : PCK ) และ/หรือ การหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK) และมีการกำหนดเงื่อนไขเพื่อทำให้ครูที่เข้ารับการพัฒนาเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
ข้อ 1 มีกิจกรรมการบรรยาย กิจกรรมการฝึกปฏิบัติในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical Content Knowledge : PCK ) และ/หรือ การหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK )
ข้อ 2 มีกิจกรรมการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูที่เข้ารับการพัฒนาและกับคณะวิทยากร
ข้อ 3 มีกิจกรรมการบูรณาการการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Pedagogical Content Knowledge : PCK ) และ/หรือ การหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Technological Pedagogical Content Knowledge : TPCK ) และการปฏิบัติสู่การพัฒนานักเรียนจริง
ข้อ 4 มีกิจกรรมการติดตาม สะท้อนคิดระหว่างครูที่เข้ารับการพัฒนาและคณะวิทยากร หลังการอบรม
ข้อ 5 มีการเชื่อมโยงความรู้สู่การพัฒนาวิชาชีพด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) อย่างต่อเนื่อง และมีระบบการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจนหลังการอบรม
กระบวนการคัดเลือกครูเข้ารับการพัฒนาในหลักสูตร
หมายถึง ลำดับขั้นตอนการคัดเลือกหรือเกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติทั้งด้านความรู้ หรือทักษะ หรือทัศนคติ และ/หรือประสบการณ์ เงื่อนไขอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้ทั้งผู้บริหารหลักสูตรและครูที่จะเข้ารับการพัฒนา มีระดับความแปรปรวนของพื้นฐานของครูที่จะเข้ารับการพัฒนาน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการพัฒนา จะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
ข้อ 1 มีการระบุคุณสมบัติของครูที่เหมาะสมที่จะเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรด้านความรู้ หรือทักษะ หรือทัศนคติ หรือประสบการณ์ เงื่อนไขอื่นๆอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข้อ 2 มีการระบุคุณสมบัติของครูที่เหมาะสมที่จะเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรอย่างน้อย ด้านความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติ หรือประสบการณ์ เงื่อนไขอื่นๆอย่างน้อย 2 ด้าน
ข้อ 3 มีการระบุคุณสมบัติของครูที่เหมาะสมที่จะเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรอย่างน้อยด้านความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติ หรือ ประสบการณ์ เงื่อนไขอื่นๆ ครบถ้วนทั้ง 3 ด้าน
ข้อ 4 มีเกณฑ์การคัดเลือกและ/หรือแนวทางให้ครูประเมินตนเองก่อนสมัครเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตร
ข้อ 5 มีระบบการคัดเลือกครูเข้ารับการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนเชิงประจักษ์ ตรวจสอบได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
ตารางกิจกรรมการพัฒนา
หมายถึง การแสดงข้อมูลรายละเอียดให้เห็นถึงกระบวนการพัฒนาของหลักสูตรที่มีทั้งหัวข้อประเด็นการพัฒนา ระยะเวลาที่ใช้ และคณะวิทยากร
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
มีการนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานเป็นแบบตารางเวลาที่สะท้อนให้เห็นประเด็นการพัฒนา ระยะเวลาที่ใช้และคณะวิทยากรที่รับผิดชอบ
แผนการจัดกิจกรรม
หมายถึง เอกสารที่แสดงรายละเอียดการจัดกิจกรรมของแต่ละหัวข้อ โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึง
(1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้
(2) พฤติกรรมการเรียนรู้ของครูที่จะเกิดขึ้น
(3) สาระที่ต้องการให้ครูเรียนรู้
(4) กิจกรรมการพัฒนา (เรียนรู้)
(5) สื่อประกอบการเรียนรู้
(6) วิทยากรและวิทยากรผู้ช่วย
(7) การวัดผลและประเมินผล
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
ข้อ 1 เอกสารแผนกิจกรรมมีเฉพาะบางเรื่องที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ไม่ครบทุกเรื่อง)
ข้อ 2 เอกสารแผนกิจกรรมทุกแผน ขาดรายละเอียดหัวข้อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บางหัวข้อ
ข้อ 3 เอกสารแผนกิจกรรมอย่างน้อย 1 แผน มีรายละเอียด การจัดกิจกรรม ของแต่ละหัวข้อ โดยแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของครูที่จะเกิดขึ้น สาระที่ต้องการให้ครูเรียนรู้ กิจกรรมการพัฒนา (เรียนรู้) สื่อประกอบการเรียนรู้ วิทยากรและวิทยากรผู้ช่วย การวัดผลและประเมินผล
ข้อ 4 เอกสารแผนกิจกรรมมากกว่าครึ่งหนึ่งของเรื่องตามหลักสูตร มีรายละเอียด การจัดกิจกรรม ของแต่ละหัวข้อ โดยแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ พฤติกรรมการเรียนรู้ของครูที่จะเกิดขึ้น สาระที่ต้องการให้ครูเรียนรู้ กิจกรรมการพัฒนา (เรียนรู้) สื่อประกอบการเรียนรู้ วิทยากรและวิทยากรผู้ช่วย การวัดผลและประเมินผลสื่อประกอบการเรียนรู้ วิทยากรและวิทยากรผู้ช่วยการวัดผลและประเมินผล
การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรม
หมายถึง วิธีการ เครื่องมือ ที่ใช้ในการตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับครูที่เข้ารับการพัฒนาว่าสอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด และมีเกณฑ์การประเมินการ “ผ่าน” การพัฒนาที่ตรวจสอบได้
ประเด็นการประเมิน *
มี
ไม่มี
ข้อ 1 มีการประเมินการเรียนรู้ครอบคลุมครบทั้ง 3 ด้าน (KSA)
ข้อ 2 การประเมินมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ข้อ 3 วิธีการ เครื่อมือ และเกณฑ์ประเมิน มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์
ข้อ 4 มีการประเมินความพึงพอใจของผู้รับการพัฒนา/ให้ผู้เข้ารับการพัฒนาประเมินย้อนกลับ
ข้อ 5 มีการกำหนดเกณฑ์การ “ผ่าน” การพัฒนาตามหลักสูตร
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy