แบบสอบถามการรับรู้วัฒนธรรมวิจัย (วันที่ 11 ก.พ. 2561)
Sign in to Google to save your progress. Learn more
คำชี้แจง
โปรดทำเครื่องหมาย / ในช่องที่ตรงกับระดับความเห็นของท่าน
ระดับ 5 = มากที่สุด ระดับ 4 = มาก ระดับ 3 = ปานกลาง ระดับ 2 = น้อย ระดับ 1 = น้อยที่สุด

การรับรู้วัฒนธรรมวิจัย *
5
4
3
2
1
1 ให้น้ำหนักงานวิจัยเท่ากับงานสอน เพื่อให้เห็นคาวามสำคัญของการวิจัย
2 ให้ข้อมูลข่าวสารถึงความสำเร็จของผลงานวิจัยของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่มีคุณภาพมาตรฐาน (Success story) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัย
3 สร้างระบบกัลยาณมิตร โดยให้นักวิจัยในทีมเดียวกันหรือสาขาเดียวกันได้มีการช่วยเหลือ ให้คำแนะนำปรึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิจัยร่วมกัน ทำให้มีความสนใจและกระตุ้นให้เกิดกำลังใจในการทำวิจัย
4 แสดงออกถึงการยอมรับในความสำเร็จของงานวิจัย เช่น การจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงาน การประกาศเกียรติคุณนักวิจัยดีเด่นหรือผลงานวิจัยดีเด่น ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจแก่อาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้ทำวิจัย และสร้างค่านิยมพื้นฐานของการยอมรับนักวิจัย
5 ให้ทุนไปนำเสนอผลงงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการต่างประเทศ จูงใจให้มีการผลิตผลงานวิจัยที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติมากขึ้น ทำให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ในวงวิชาการระดับสากลได้
6 จัดตั้งหน่วยช่วยเหลือและให้คำปรึกษาด้านวิจัย เช่น หน่วยช่วยเหลือในการเขียนบทความวิจัย (Writing Clinic) หน่วยช่วยเหลือด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
7 จัดให้มีแกนนำกลุ่มต่างๆของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ และเสริมสร้างให้เกิดมวลพลัง (Critical mass)ที่เป็นแรงผลักดันให้มีการวิจัยขึ้น เช่น การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัยที่มีการรวมนักวิจัยให้มาทำงานร่วมกันในเรื่องที่น่าสนใจ
8 กำหนดให้อาจารย์นำวิธีการวิจัยเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนทุกชั้นปี
9 เปิดโอกาสให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ได้ระดมความคิดเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติตามจรรยาบรรณนักวิจัย เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในการเป็นนักวิจัยที่ดี
10 จัดประชุมทางวิชาการเพื่อเสนอผลงานวิจัยของอาจารย์และเจ้าหน้าที่เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์งานวิจัยในทางสร้างสรรค์
11 จัดระบบพี่เลี้ยงนักวิจัย (Mentors)เพื่อให้คำปรึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการทำวิจัยให้กับอาจารย์และเจ้าหน้าที่นักวิจัยรุ่นใหม่
12 จัดให้มีการวิจัยเป็นทีม โดยให้นักวิจัยอาวุโสเป็นหัวหน้าโครงการและเปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้มีการเรียนรู้ทักษะและประสบการณ์ในการทำวิจัยในโครงการขนาดใหญ่
13 จัดอบรมวิทยาการวิจัย ทั้งในระดับพื้นฐานและระดับดำเนินการให้กับกลุ่มอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่เริ่มทำวิจัยตามความเหมาะสม
14 จัดสรรทุนอุดหนุนสำหรับพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีโอกาสไปอบรมสัมมนาหรือศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาความรู้ ประสบการณ์และทักษะด้านการทำวิจัย
15 พัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก (Post Doctorate)โดยเปิดโอกาสให้อาจารย์ที่จบปริญญาเอกเข้าสู่การทำ Post Doc ได้ทั้งภายในและต่างประเทศ และสนับสนุนให้มีการบ่มเพราะประสบการณ์การวิจัยแก่อาจารย์และเจ้าหน้าที่โดยให้เวลาและทุน ได้เข้าร่วมงานกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ ก่อนนำความรู้กลับมาพัฒนางานวิจัยในประเทศ
16 จัดสรรทุนให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ได้อบรม สัมมนาและศึกษาดูงานด้านวิจัย ทั้งหลักสูตรระยะสั้น/ระยะยาว ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาความรู้ ประสบการณ์และทักษะด้านการทำวิจัยของอาจารย์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายนักวิจัยในระดับสากล
17 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนทุกชั้นปีให้มีการสร้างนักวิจัยและมีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
18 ให้ทุนการศึกษาโดยเฉพาะทุนวิจัยให้แก่นักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 เพื่อให้นักศึกษาที่เก่งและมีคุณภาพเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอกและบรรจุเป็นอาจารย์
19 จัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือระหว่างอาจารย์นักวิจัยในสาขาและต่างสาขา เจ้าหน้าที่วิทยาลัย หน่วยงานด้านสาธารณสุขภายนอก โดยจัดทำระบบ Web board, Data base และ List of publications
20 จัดระบบการทำงานร่วมกันในหลายสาขาหรือข้ามสาขาทั้งแบบ Multi-disciplinary, Interdisciplinary และ Trans-disciplinary เพื่อผลิตผลงานวิจัยที่ครอบคลุมครบวงจร สามารถนำไปใช้งานได้จริงและได้มุมมองใหม่ แก้ปัญหาได้ในวงกว้าง เป็นการสร้างวัฒนธรรมให้เป็น Academic based
21 จัดตั้งหน่วยวิจัย (Research Unit)เฉพาะทาง หรือ สหสาขาวิชาให้มีความต่อเนื่อง และเข้มแข็ง เปิดโอกาสให้มีการรวมกลุ่มให้เกิดความร่วมมือ สร้างบรรยากาศในการพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพ
22 จัดประชุม เสวนาทางวิชาการเพื่อให้นักวิจัยได้มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาจากงานวิจัย นักวิจัยอาวุโสได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ และนักวิจัยมีโอกาสปรึกษาหารือกันเพื่อสร้างเครือข่ายการวิจัยร่วมกัน
23 กำหนดให้อาจารย์ผลิตผลงานวิจัยทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างสร้างสรรค์ เหมาะสมกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อความรอบรู้อย่างลึกซึ้ง และเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องอย่างแท้จริงจนสามารถขยายผล นำสรุปอ้างอิงให้เป็นสากลได้
24 จัดกระบวนการตั้งโจทก์วิจัยที่ดีและเป็นปัญหาที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย มีการจัดการงานวิจัยตามความต้องการของสังคมและปัญหาสุขภาพของชุมชนในปัจจุบัน โดยใช้กระบวนการวิจัยที่ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
25 พัฒนางานวิจัยที่เป็นจุดเน้นของวิทยาลัยให้เป็น Mega-research project เพื่อสร้างความเข้มแข็งของนักวิจัยในสาขานั้นๆ
26 สร้างระบบการติดตามผลการปฏิบัติงานและการประเมินผลงานวิจัยที่ต่อเนื่อง
27 จัดประชุมวิพากษ์ผลงานวิจัยเพื่อให้มีการปรับปรุงคุณภาพ และมีการเปรียบเทียบในเชิงคุณภาพ
28 จัดทำระบบฐานข้อมูลการวิจัยด้านบุคลากรและผลงานวิจัยที่เป็นปัจจุบัน
29 จัดระบบการบันทึกองค์ความรู้ ตำราต่างๆ ในรูปหน่วยข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ (Digital of information)
30 ปฏิรูปห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดอิเล็คทรอนิคส์ (Digital Library) และเชื่อมเครือข่ายห้องสมุดระดับภูมิภาค (Regional library network)เพื่อการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลและการเรียนรู้ร่วมกัน
31 จัดหาแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์และสื่อสารเกี่ยวกับทุนวิจัยจากภายนอกที่รวดเร็ว
32 กำหนดกระบวนการพิจารณาทุนโดยคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ และเป็นผู้ที่มีทัศนคติในการส่งเสริมมากกว่าการควบคุม ทำหน้าที่พิจารณาโครงการวิจัยและติดตามความก้าวหน้าของงาน เพื่อรักษาคุณภาพงานทั้งเนื้องานและกำหนดเวลา
33 จัดระบบการเบิกจ่ายทุนวิจัยให้มีความชัดเจนและคล่องตัว
34 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสม มีลักษณะเป็นข่าวงานวิจัย โดยสรุปเนื้อหางานวิจัยโดยย่อแต่ได้ใจความหลัก สามารถเผยแพร่เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่นจุลสารหรือจดหมายข่าว เพื่อให้ผลงานวิจัยเกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ให้มากที่สุด
35 จัดพิมพ์งานวิจัยฉบับสมบูรณ์โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ในวิทยาลัยและเผยแพร่ในวงกว้าง คัดเลือกงานวิจัยที่มีคุณค่าจัดพิมพ์รวมเล่มหรือเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเข้าสู่วงการวิชาการระดับสากล
36 จัดให้มีวารสารของวิทยาลัยที่มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่าสากล
37 ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้แก่สังคมและผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์แก่สาธารณะและประโยชน์เชิงพาณิชย์
38 จัดให้มีการจดสิทธิบัตรผลงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือเพื่อการพัฒนาสังคม
39 จัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนำความรู้จากาต่างประเทศเข้ามาใช้ประโยชน์ สร้างเครือข่ายนักวิจัยในระดับประเทศและสากล
40 จัดให้มีหน่วยปฏิบัติการวิจัยหรือห้องปฏิบัติการวิจัย โดยมีบุคลากรผู้รับผิดชอบ ดูแล บำรุงรักษา ตลอดจนให้คำแนะนำในการใช้ทรัพยากรการวิจัย
ข้อเสนอแนะ 1
ข้อเสนอแนะ 2
ข้อเสนอแนะ 3
ข้อเสนอแนะ 4
ข้อเสนอแนะ 5
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This form was created inside of วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์. Report Abuse