PANDIT Thailand
2 min readSep 13, 2016

--

ย้อนตำนานสอบเข้ามหา’ลัยไทย

ที่มา: waymagazine

วันนี้พี่ๆ PANDIT จะขอพาน้องๆ กลับไปรีวิวพัฒนาการของระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง

Entrance EP1 (2504–2016)

แรกเริ่ม แต่ละมหาวิทยาลัยมีการจัดสอบคัดเลือกกันเอง จนในปี 2504 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ร่วมกันจัดทำระบบกลางขึ้น โดยในปีต่อมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเข้าร่วมในระบบกลางนี้เพิ่มเติม

จนในปี 2516 เกิดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ และมีการจัดระบบกลางคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ สามารถเลือกอันดับได้ทั้งหมด 6 อันดับ และสอบได้ครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ต้องใช้เกรด ดังนั้นจึงสามารถสอบเทียบได้
เกิดสถาบันกวดวิชาขึ้นเป็นครั้งแรก

รูปประกอบจาก http://www.tlcthai.com/

Entrance EP 2 (2516–2542)

ในเวลาต่อมาปี 2542 ได้มีการปฏิรูปการสอบครั้งใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาการสอบเทียบ เพราะที่ผ่านมา นักเรียนสามารถสอบเทียบได้ตั้งแต่อายุ 16 (เรียนจบมหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 20 ปี) ซึ่งเร็วไป อีกทั้งที่ผ่านมานักเรียนไม่สนใจการ เรียนในห้อง ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกและได้เสนอรูปแบบ การคัดเลือกระบบใหม่ โดยใช้ ผลการเรียนตลอดหลักสูตรระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 10% 2. ผลการสอบวิชาหลักและวิชาเฉพาะ 90 % ซึ่งจัดสอบปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคม และเดือนตุลาคม แล้วเลือกคะแนนที่มากที่สุดมาประมวลผล โดยจะเลือกได้ 4 อันดับ และเก็บคะแนนสะสมได้นานสองปี อย่างไรก็ตามระบบการสอบ Entrance นี้ ทำให้เกิดปัญหาตามมาคือ ครูในโรงเรียนสอนไม่ทันเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะจะต้องเร่งสอนให้จบภายใน 2 ปีครึ่ง (สอบครั้งสุดท้ายของแต่ละปีการศึกษา คือ เดือนตุลาคม หลังจบเทอม 1) นักเรียนหันมาพึ่งการเรียนกวดวิชาเพิ่มมากขึ้น

Admissions EP1 (2549–2552)

ปี 2549 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พิจารณาระบบการเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ แก้ปัญหานักเรียนไม่ใช้ความสำคัญกับการเรียนในห้องเรียน และลดความสำคัญของการสอบแข่งขัน จึงเกิดระบบ Admissions ใช้คะแนนเกรดเฉลี่ยสะสม GPAX (เกรดเฉลี่ยของทุกวิชาที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า) และเกรดเฉลี่ยกลุ่มสาระ GPA รวมเป็น 30 % เกิดการสอบ A-NET (Advanced National Educational Test) และ O-NET (Ordinary National Educational Test) แต่ก็มีปัญหาตามมาคือ ระบบ admission นี้ไม่ยุติธรรม เพราะแต่ละโรงเรียนมีมาตรฐานการเรียน และการให้เกรดที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละมหาวิทยาลัยเปิดรับตรงเองเพิ่มมากขึ้น

Admissions EP2 (2553–2555)

หลังจากนั้น 3 ปี ก็ได้มีการแก้ไขปัญหาสัดส่วน คะแนนที่ใช้คัดเลือก โดยลดสัดส่วนของ เกรด ลงเหลือเพียง 20% และคิดคะแนน Onet เป็น 30 % นอกจากนี้ เปลี่ยนจากการสอบ A-NET มาเป็น GAT (General Aptitude Test) และ PAT (Professional Aptitude Test) GAT/PAT ซึ่งคะแนนสามารถเก็บไว้ใช้ได้ 2 ปี จะสอบสี่ครั้งต่อปี ต่อมาลดลง 3 และ 2 ครั้งตามลำดับ แม้ว่าจะมีการปรับรูปแบบการสอบอีกครั้ง แต่ทางกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ยังคงมองว่าไม่ตอบโจทย์จึงจัดสอบ ความถนัดทางแพทย์ และ 7 วิชา เอง มหาวิทยาลัยต่างๆ เปิดรับตรงเองมากขึ้นเรื่อยๆ

Admissions EP3 (2556–2559)

จากปัญหาดังกล่าว จึงได้เกิดข้อสอบกลาง สำหรับรับตรงขึ้นมา และเพิ่มจาก 7 วิชา เป็น 9 วิชาในปี 2558 และเกิดระบบเคลียริ่ง เฮาส์ เพื่อป้องกันการกันที่ โดยคนที่ได้รับตรงจะถูกตัดสิทธิ์ในการคัดเลือกในระบบแอดมิชชั้น

Entrance 4.0 (2561 เป็นต้นไป)

และล่าสุดในวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เรื่องการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาให้มีการจัดรูปแบบระบบรับนักเรียนเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใหม่ หรือ Entrance 4.0 ซึ่งกำหนดให้สามารถสอบได้เพียงครั้งเดียวหลังจบ ม. 6 (มี.ค. — เม.ษ.) โดยใช้ข้อสอบ ONET GAT/ PAT และ 9 วิชาสามัญ เหมือนเดิม แล้วเพิ่มระบบเคลียริ่ง เฮาส์เป็น 2 ครั้ง
(สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในโพสต์ก่อนหน้าของเราที่แฟนเพจ : Pandit Thailand) ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการวิ่งรอกสอบ หลายๆ รอบ

จะสังเกตได้ว่ากว่า 50 ปีที่ผ่านมา เรามีการเปลี่ยนแปลงระบบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยกว่า 6 ครั้ง และเปลี่ยนบ่อยครั้งขึ้นในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี้ และจะเห็นได้ว่าทุกครั้งของการเปลี่ยนระบบคัดเลือกครั้งหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาปัจจุบันเฉพาะหน้าอย่างหนึ่ง และนำมาสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมาเสมอ อาจเป็นเพราะการขาดความมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ระหว่าง นักเรียน คุณครู สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : waymagazine, wikipedia, unigang

--

--