ReadyPlanet.com
dot dot


กำจัดจุลชีพทางอากาศและไรฝุ่น

   นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ลดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และไรฝุ่น 

 

เป็นผลงานร่วมวิจัยกับ

 

  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

 คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

  วิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

 


 

ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย เดือนสิงหาคม 2565

ผ่านการพิจารณาประสิทธิภาพจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

และผ่านการพิจารณาโครงสร้างราคาจากสำนักงบประมาณ สำนักนายก

รายละเอียดดูได้ให้คลิ้กที่นี่

บัญชีนวัตกรรมไทย ฉบับเพิ่มเติม สิงหาคม 2565.pdf

 publichearing.bb.go.th/innovation/app/detail.php

 

   เครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศ เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ ใช้ในการลดการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และไรฝุ่น ด้วยการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศให้มีค่าคงที่ต่อเนื่อง และแม่นยำ

 


 

บทความที่ตีพิมพ์ผลทดสอบการกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียในอากาศ

จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ

 

 
Download ดูบทความฉบับเต็ม APA 14-064.pdf บทความนี้รายงานผลทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศ ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียในอากาศและเชื้อราจากโรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ที่พบว่าเชื้อแบคทีเรียจะตายหมดในวันแรก ส่วนเชื้อราต้องใช้เวลา 3 วันจึงจะตายหมด รายละเอียดอ่านได้จากบทความที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการของต่างประเทศด้านการแพทย์

 


ไวรัสโควิด-19 จะไม่หายไปจากโลก และจะกลายพันธุ์หลบภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนไปเรื่อยๆ มนุษย์ต้องปรับตัวให้อยู่ร่วมกับไวรัสโควิดให้ได้ 

ทำตัวอย่างไรให้ปลอดภัยจาก COVID-19 ด้วยความรู้ด้านวิศวกรรม


 

นวัตกรรมที่ใช้เป็นอาวุธต่อสู้ต่อต้านไวรัส COVID-19


 

โควิด-19 เรื่องที่บริษัทผลิตวัคซีนและบริษัทขายยาไม่อยากให้คูณรู้


 
    ผลทดสอบจาก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
รายงานผลการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไรฝุ่น ในบ้านพักอาศัยหมู่บ้านจัดสรร
 

 
บทความที่ตีพิมพ์ผลทดสอบทางคลินิก (Clinical Trial) กับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
 
 
 
            Download ดูบทความฉบับเต็ม 1837-4287-3-PB.pdf  บทความได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติทางการแพทย์ จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  เป็นการประเมินประสิทธิภาพเครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศในการทดสอบทางทางคลินิก (Clinical Trial) ที่มีผลกับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ระบบทางเดินหายใจที่เป็นเด็ก
 
 "ระดับของไรฝุ่นในที่นอนได้ลดลงมากอย่างมีนัยสำคัญกับผู้ป่วยหลังจากการติดตั้งใช้เครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศ เครื่องนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการของโรคกับเด็กที่เป็นผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ระบบทางเดินหายใจ" (ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Asian Pac J Allergy Immunol ปี ค.ศ. 2015)"
 

  รายงานผลทดสอบการกำจัดไรฝุ่น

     โดยศูนย์บริการและวิจัยไรฝุ่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

                Download ดูฉบับเต็ม Climate_Colntroller_Report2.pdf  ด้วยเทคโนโลยีที่นำเสนอใหม่นี้ได้ทำการทดสอบกับไรฝุ่นโดย ศูนย์บริการและวิจัยไรฝุ่น ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลโดยการทดสอบการตายของไรฝุ่นที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่าค่าวิกฤติ พบว่าไรฝุ่นจะตายหมดภายใน 7 วัน แห้งตาย(death by dehydration)

 

    หลักการและเหตุผล    

         ในประเทศไทยมากกว่า 98%ของห้องนอนสามารถตรวจพบไรฝุ่นได้ ไรฝุ่นอาศัยในบริเวณที่แสงส่องไม่ถึง ชอบความชื้น ไม่ทนต่อความแห้ง อาศัยขี้ไคล รังแค เป็นอาหาร ส่วนใหญ่ในบ้านเรือนจะอยู่ตาม ที่นอน หมอน เฟอร์นิเจอร์ พรม ผ้าม่าน ตุ๊กตาของเด็กเล่น ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ถ้าอุณหภูมิเหมาะสมที่ 20 ถึง 35 องศา และความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ 60 - 90%RH การกำจัดไรฝุ่นเป็นเรื่องที่ยากมากๆ และเราไม่สามารถมองเห็นไรฝุ่นได้ด้วยตาเปล่า ปัจจุบันนิยมกันมากที่สุดคือใช้วิธีการควบคุมไรฝุ่นด้วยการใช้อุปกรณ์เครื่องนอนที่อ้างว่าควบคุมไรฝุ่นได้ แต่ผลการใช้ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่อ้าง อาการของผู้ป่วยไม่ได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากไรฝุ่นยังคงดำรงชีวิตอยู่ได้ไม่ได้ถูกกำจัดแต่อย่างใด(ไรฝุ่นจะกินราเป็นอาหารและราจะกินมูลไรฝุ่น เรียกว่าอยู่แบบ symbiosis)

 

ตารางที่ 1 สถิติความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย %RH ของประเทศไทยในช่วงฤดูกาลต่างๆ
 
ภาค
ฤดูหนาว
ฤดูร้อน
ฤดูฝน
ตลอดปี
 เหนือ
 ตะวันออกเฉียงเหนือ
 กลาง
 ตะวันออก
 ใต้ฝั่งตะวันออก
 ใต้ฝั่งตะวันตก
73
69
71
71
81
77
62
65
69
74
77
76
81
80
79
81
78
84
74
72
73
76
79
80
จากตารางจะเห็นได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทยมีสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยกับการแพร่กระจายและเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และไรฝุ่นเป็นอย่างมาก
               

         เทคโนโลยีการกำจัดไรฝุ่นได้จดเป็นสิทธิบัตรแล้ว (เลขที่ประกาศ 116040 วันที่ประกาศ 31/08/2555) ใช้วิธีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้มีค่าคงที่ตลอดเวลาและมีค่าความเที่ยงตรงสูง(+/-2%RH) ซึ่งจะทำให้ไรฝุ่นไม่สามารถดึงน้ำจากอากาศมาเพื่อดำรงชีวิตได้ จากงานวิจัยที่ทำโดย Prof. Dr.Spieksma พบว่าหากความชื้นสัมพัทธ์มีค่าน้อยกว่า 60%RH ไรฝุ่นจะไม่สามารถขยายพันธ์และจะตายในที่สุด นอกจากนี้ Prof. Dr.Arlian รายงานในผลงานวิจัยที่ทำเพิ่มเติมอีกว่าหากความชื้นสัมพัทธ์มีค่าน้อยกว่า 50%RH ไรฝุ่นจะตายภายใน 5 - 11 วัน และสิ่งที่สำคัญคือค่าของ Critical equilibrium humidity (CEH) ที่เป็นค่าวิกฤติที่หากความชื้นสัมพัทธ์เกินค่านี้แค่ 2 ชั่วโมงต่อวันก็จะทำให้ไรฝุ่นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าการควบคุมค่าความชื้นสัมพัทธ์ให้มีค่าคงที่และต่อเนื่องตลอด 24 ชม. ทำได้ยากมากๆ เนื่องจากค่าความชื้นสัมพัทธ์เป็นตัวแปรแบบ cross coupling กับค่าของอุณหภูมิ และค่าของอุณหภูมิก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงเวลาของวัน(หากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเพียง 5 องศาค่าความชื้นสัมพัทธ์จะเปลี่ยนแปลงมากถึง 20%) จึงต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่เรียกว่า decoupling control และใช้อุปกรณ์ตัวประมวลผล (Digital Signal Processor, DSP) ความสามารถสูง จึงจะสามารถควบคุมได้ เป็นคำตอบว่าทำไมถึงไม่มีใครสามารถทำมาก่อนหน้านี้ ที่สามารถฆ่าไรฝุ่นได้แบบถอนรากถอนโคน
และขอย้ำนะครับว่าเครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศและไม่ใช่เครื่องลดความชื้นหรือที่รู้จักเรียกกันว่าเครื่อง Dehumidifier ที่อาจจะลดค่าความชื้นสมบูรณ์ได้แต่ไม่สามารถควบคุมค่าความชื้นสัมพัทธ์ให้มีค่าคงที่และต่อเนื่องได้ เพราะถ้าทำได้คงจะโฆษณาว่าสามารถกำจัดไรฝุ่นได้ไปตั้งนานแล้ว (ในต่างประเทศมีผลงานวิจัยที่ใช้เครื่อง Dehumidifier กับไรฝุ่นในบ้านพบว่าไม่สามารถจะกำจัดไรฝุ่นให้หมดไปได้ รายละเอียดอ่านได้จากบทความเหล่านี้  Article0813.pdf,   paper22.png,   paper23.png )
 
 

 
ปัจจุบันนอกจากไรฝุ่นแล้ว เป็นที่ยอมรับกันว่า เชื้อรา กลุ่ม Alternaria, Cladosporium, Aspergillus , Mucor, Rhizopus และ Merulius (1)เป็นตัวการของการเกิดสารก่อภูมิแพ้ในบ้านที่สำคัญรองจากไรฝุ่น และเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคภูมิแพ้ ได้แก่ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือที่เรียกว่า โรคแพ้อากาศ ( allergic rhinitis ) และ โรคหืด ( Asthma)  จากรายงานต่างๆทั่วโลกมีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นทุกๆปี โดยเฉพาะประเทศไทยที่เป็นประเทศในเขตร้อนชื้นจนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ(2) ที่ใช้งบประมาณและค่าใช้จ่ายในการความคุมและรักษาโรคนี้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี
โดยปกติเชื้อราจะเจริญเติบโตในที่มีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60% RH ในบริเวณบ้านที่มีปริมาณเชื้อรามากได้แก่ภายในห้องที่มีความชื้นสูง โดยเฉพาะห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เมื่อเราปิดเครื่องปรับอากาศ ไอน้ำในอากาศจะเกิดการควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำเกาะตามผนังรวมทั้งบริเวณฝ้าและเพดาน ทำให้ที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา(1)
ปัจจุบันมีการใช้เครื่องกรองอากาศ ด้วยระบบ High efficiency particulate air filters (HEPA filters) แต่พบว่าไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอในการช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้และลดอาการทางจมูกในโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (3),(4)  ดังนั้นการใช้เครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศ ด้วยการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้ต่ำคงที่และต่อเนื่องภายในบ้านจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะกำจัดเชื้อราได้ เพราะจากการศึกษาของ R.M. Sterling พบว่าการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ที่ร้อยละ 50 จะสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี รวมทั้งยับยั้งการเจริญเติบโตของไรฝุ่น เชื้อไวรัสและแบคทีเรียด้วย (5).
        นอกจากนี้ พบว่าคุณภาพอากาศภายในอาคาร(Indoor air quality) ก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อซึ่งเรามักมองข้ามไป และมีรายงานว่า เชื้อแบคทีเรียทางอากาศที่เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อหลังการผ่าตัด และเป็นปัญหาสำคัญในหอพักผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Unit) (6)   จากสถิติของการตรวจสอบคุณสภาพอากาศโดยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA) ได้ระบุว่า "ปริมาณเชื้อโรคภายในอาคารและบ้านเรือนนั้นมีมากกว่าบริเวณเปิดภายนอกอาคารหลายเท่าตัว" โดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่เป็นอาคารที่รวมผู้ป่วยหลายๆโรคไว้และยังเป็นสถานที่ที่มีคนเข้าออกจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อก่อโรคที่พร้อมจะติดต่อจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่งได้เป็นอย่างดี
 เชื้อโรคที่สามารถแพร่กระจายทางอากาศมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือแม้แต่ไวรัส โดยเชื้อโรคที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ในการเกิดโรคของทางโสต ศอ นาสิก อาทิเช่น Streptococcus pneumonia, Haemophilus influenzae, Moraxella catarrhalis, Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus, Mycoplasma pneumoniae, Aspergillus spp., Parainfluenza, Varicella-zoster, Adenoviruses ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วเชื้อโรคจะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้ 3-4  วัน หรืออาจนานเป็นเดือน เมื่อในห้องมีสภาพอากาศที่เหมาะสม การสัมผัสกับเชื้อโรคในช่วงร่างกายอ่อนแอและมีปริมาณมากพอ จะทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนได้ (7)
- Arundel V., Sterling EM. รายงานว่า ความชื้นสัมพัทธ์สูงจะมีผลที่ทำให้เกิดอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้และ infectious respiratory disease สูงขึ้น เนื่องจากจะเอื้ออำนวยให้มีการเจริญแพร่ขยายของ infectious หรือ allergenic organism พวก fungus, protozoa, mite, bacteria และ ไวรัส (7)
กราฟแสดงการแพร่กระจายและการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และไรฝุ่น กับค่าความชื้นสัมพัทธ์ (7)
 
 
 

ความสบายที่ได้เพิ่มขึ้น นอกจากการกำจัดไรฝุ่น เชื้อรา และจุลชีพทางอากาศ
 
Comfort zone ของมนุษย์เมื่อความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในช่วง 40-60%RH และอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22-27 องศาเซลเซียล ที่เป็นสภาวะที่เราใช้ทำการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราและไรฝุ่น ยังเป็นจุดความสบายสูงสุดของคน
  รูปแสดงแผนภูมิความสบายบน Psychrometric chart สำหรับประเทศไทยโอกาสที่จะเกิดสภาวะที่อยู่ในช่วง comfort zone โดยทางธรรมชาติแทบจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย

 
 
 
หลักการทำงานของเครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศ จะมีการทำงานอยู่สองโหมด คือ
 
1. Full control mode ใช้ในกรณีมีคนอยู่ในห้องซึ่งจะทำการควบคุมทั้งอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ 
2. Standby mode ใช้ในกรณีไม่มีคนอยู่ในห้อง จะเป็นการควบคุมเฉพาะความชื้นสัมพัทธ์เพียงอย่างเดียว
 
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความชื้นสัมพัทธ์จะถูกควบคุมให้มีค่าต่ำกว่า Critical equilibrium humidity ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำที่สุด ที่ทำได้ยากมากๆ ซึ่งต้องใช้การควบคุมด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงเท่านั้นถึงทำได้ เนื่องจากค่าความชื้นสัมพัทธ์เป็นตัวแปรที่ cross coupling กับค่าตัวแปรอุณหภูมิ ดังนั้นการควบคุมจึงต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการควบคุมที่เรียกว่า decoupling control

  
 เอกสารอ้างอิง
                                                                                         
1. Gravesen S. Fungi as a cause of allergic rhinitis disease. Allergy 1979; 34:135-154.
2. Bunnag C, Jareoncharsri P, Tantilipikorn P, Vichyanond P, Pawankar R. Epidemiology and current status of allergic rhinitis and asthma in Thailand-ARIA Asia-pacific Workshop report. Asian Pac J Allergy Immunol. 2009;27(1):79-86.
3. Reisman RE, Mauriello PM, Davis GB, Georgitis JW, DeMasi JM. A double-blind study of the effectiveness of a high-efficiency particulate air (HEPA) filter in the treatment of patients with perennial allergic rhinitis and asthma. J Allergy Clin Immunol. 1990;85(6):1050-7.
4. Sheiks A, Hurwitz B, Shehata YA,. House dust mite avoidance measures for perennial allergic rhinitis (Review). Cochrane Database Syst Rev 2007;24(1):CD001563. )
5. Sterling RM. Criteria for Human Exposure to Humidity in Occupied Buildings, 1985 ASHRAE. 
6.     Ishida T.  Bacteriological evaluation of the cardiac surgery environment accompanying hospital relocation, Surg Today (2006) 36:504-507.
7. Arundel AV, Sterling EM, Biggin JH, Sterling TD. Indirect Health Effect of Relative Humidity in Indoor Enviroments. Enviromental Health Perspectives 1986;65:351-361. 
8. McIntyre DA. Response to atmospheric humidity at comfortable air temperature ; a comparison of three experiments. Ann. Occup. Hyg. 1978; 21:177-190.
9. Eng. WG. Survey on eye comfort in aircraft : Flight attendants. Aviat. Space. Environ. Med. 1979;50:401-404.
10.  Lubart J. Health care containment cost. Am. J. Otolaryngol. 1979 :81-83.
11. Dulfano M.J, Adler K, Wooten O. Physical properties of sputum IV. Effects of 100 percent humidity and water mist. Am. Rev. Resp. Dis. 1973;107:130-132.
12.  Varsano I, Mukamel M, Shuper A, Volovitz B, Sheem M, Jaber L. The efficiency of nebulization treatment with water compared to sodium cromoglycate in reducing  upper respiratory tract infections in children. Helv. Paediat. Acta 1983;38:335-339.
13.  Wraith DG, Cunnington AH, Seymour WM. The role and allergic importance of storage mites in house dust and other environments. Clin Allergy 1979;9:545-561.
14. Arlian LG., Neal JS., Morgan MS., Vyszenski-Moher DL, Rapp CM.: Reducing relative humidity is a practical way to control dust mites and their allergens in homes in temperate climates, J Allergy  Clin Immunol, 2000, 107(1).
 

แหล่งที่มา: สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)

การรักษาระดับความชื้นในอาคารให้อยู่ใน "จุดที่เหมาะสม" จะลดการแพร่กระจายของ COVID-19

การศึกษาใหม่เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมในอาคารที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำและความชื้นสัมพัทธ์สูงให้ผลลัพธ์ของ COVID-19 ที่แพร่กระจายมากขึ้น

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2022

สรุป: การวิจัยใหม่พบว่าความชื้นสัมพัทธ์ในอาคารระหว่าง 40 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์เกี่ยวข้องกับอัตราการติดเชื้อและการเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่ค่อนข้างต่ำ ในขณะที่สภาวะในอาคารที่อยู่นอกช่วงนี้สัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่แย่ลงของ COVID-19
 

 


 

การรับประกัน ทุกชิ้นส่วน 12  เดือน                         อายุการใช้งาน มากกว่า 10 ปี

 ออกแบบให้ไม่มีวัสดุสิ้นเปลืองของเครื่องฯที่จะต้องเปลี่ยนตลอดอายุการใช้งาน



                 

รูปแสดงเครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศ


 

Catalog download Smart mite1.pdf 

Catalog download Smart mite2.pdf

manual user.pdf คู่มือการใช้งานเครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศ

 

 


ตัวอย่างลูกค้าที่ติดตั้งไปแล้ว

                               

       

      

     

 

   


คนที่อยู่คอนโดมิเนียมส่วนใหญ่เจอปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากเชื้อราและไรฝุ่น เพราะระบบถ่ายเทอากาศไม่ดีความชื้นสัมพัทธ์ในห้องจะสูงเพราะห้องจะปิดสามด้านอากาศไหลผ่านไม่ได้และมีห้องน้ำในห้องนอน


     


 

ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์อากาศในอาคารได้ ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด19 เรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้มาก่อน นอกจากฉีดวัคซีน ใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง

งานวิจัยจาก Harvard-MIT, Boston, MA, USA ตีพิมพ์:16 November 2022 จาก Journal of The Royal Society Interface

ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นสัมพัทธ์อากาศภายในอาคารกับผลลัพธ์ของ COVID-19 ทั่วโลก

"Associations between indoor relative humidity and global COVID-19 outcomes" https://royalsocietypublishing.org/doi/10.1098/rsif.2021.0865

บทคัดย่อ: การแพร่กระจายและความรุนแรงของ COVID-19 ทั่วโลกนั้นเปลี่ยนไปมาอย่างชัดเจน  ฤดูกาลเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความแปรปรวนในแต่ละระดับภูมิภาค แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพอากาศกับโควิด-19 ยังคงไม่ชัดเจน และจุดสนใจอยู่ที่สภาพกลางแจ้ง  แต่เนื่องจากมนุษย์ใช้เวลาส่วนใหญ่ในที่อาคารและเนื่องจากการแพร่กระจายส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายในอาคาร เราจึงตรวจสอบสมมติฐานที่ว่าสภาพอากาศภายในอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความชื้นสัมพัทธ์ในอาคาร (RH) อาจเป็นตัวแปรการแพร่ระบาดที่เกี่ยวข้องมากกว่า  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์นี้ เราได้รวมสถิติเกี่ยวกับโควิด-19 ตามประชากรและการตรวจวัดอุตุนิยมวิทยาจาก 121 ประเทศ  เราประมวลผลข้อมูลทางระบาดวิทยาอย่างเข้มงวดเพื่อลดอคติ จากนั้นจึงพัฒนาและตรวจสอบเวิร์กโฟลว์การคำนวณเชิงทดลองเพื่อประเมินสภาพในร่มโดยอิงจากข้อมูลสภาพอากาศกลางแจ้งและสภาวะความสะดวกสบายในอาคารมาตรฐาน  การวิเคราะห์ที่ครอบคลุมของเราแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและเป็นระบบระหว่างการระบาดในระดับภูมิภาคและ RH ภายในอาคาร  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราพบว่า RH ระดับกลาง (40–60%) มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับผลลัพธ์การระบาดของ COVID-19 ที่ดีขึ้น (เทียบกับ RH < 40% หรือ > 60%)  ผลลัพธ์เหล่านี้ร่วมกันชี้ให้เห็นว่าสภาวะในอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง RH ภายในอาคาร เป็นปัจัยการแพร่กระจายและความรุนแรงของการระบาดของ COVID-19

 


 

Download บทความที่บรรยายงานประชุมวิชาการประจำปีของ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ paper301.pdf


  

 สิทธิบัตรเครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศที่ได้รับการจดในต่างประเทศ


 

เมื่อมนุษย์ไม่ยอมจำนนกับไวรัส COVID-19 หันมาจับอาวุธต่อสู้

 


 

นวัตกรรมที่ทำให้ลดการแพร่กระจายทางอากาศของจุลินทรีย์


 

 เรื่องเล่าจากผู้ใช้เครื่องควบคุมสภาพบรรยากาศ กับโรคภูมิแพ้ระดับ 3 จาก 4  

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.