รัฐและระบอบการปกครองที่ดีตามแนวทางพุทธศาสนา

รัฐและระบอบการปกครองที่ดีในทัศนะทางพุทธศาสนา 



เกริ่นนำ..                   
                 เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้ปราศรัยต่อสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหราชอาณาจักร ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๑๙๔๘ ว่า "ประชาธิปไตยไม่ใช่รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด แต่เป็นรูปแบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุดต่างหาก"  ในขณะที่พระพุทธศาสนาไม่ได้เสนอว่า "ระบอบการปกครองใดเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุด หรือเลวน้อยที่สุด" แต่พระพุทธศาสนาเสนอว่า "ผู้ปกครองแบบใดดีที่สุด" นักปกครองที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ปกครองที่ดีตามนัยของพระพุทธศาสนานั้น มิได้มีนัยที่แสดงถึงนักปกครองที่เก่งกล้าสามารถโดยการใช้อาวุธประหัตประหารเพื่อเอาชนะกลุ่มคนและแว่นแคว้นต่างๆ ในอันที่จะได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง  แต่นักปกครองที่ดีนั้นหมายถึงบุคคลที่ทรงธรรม และทำให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจโดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา หรือศาสตราเข้าไปแย่งชิงเพื่อครอบครอง หรือให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครอง ผู้ปกครองในลักษณะนี้ พระพุทธศาสนาเรียกชื่อว่า ธรรมราชา(รศ.ดร.พม.หรรษา ธรรมหาโส) *
                   บุรุษที่ยิ่งใหญ่นาม พระเจ้าอโศกมหาราช ที่เริ่มต้นครอบครองและยึดครองแผ่นดินของประเทศต่างๆ ด้วย ยุทธวิชัยแต่ภายหลังได้ตระหนักรู้ถึงภัยที่เกิดจากการแย่งชิงและเข่นฆ่าเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการครอบครอง และปกครอง จึงเปลี่ยนกระบวนทัศน์มาสู่การเอาชนะด้วยธรรม หรือ ธรรมวิชัย   จนพระองค์ได้รับย่องว่า ธรรมราชาเพราะนำหลักธรรมต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการปกครองบ้านเมือง
       จากแบบอย่างดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจอย่างยิ่งใหญ่แก่พระญาลิไท พระมหากษัตริย์ไทยในยุคสุโขทัยในการปกครองบ้านเมือง หลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งบอกถึงแง่มุมดังกล่าว คือ หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่พระองค์ได้อ้างอิงถึงหลักการ และแนวทางในการบริหารจัดบ้านเมืองของพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาราษฎรจึงถวายพระนามว่า พระมหาธรรมราชา  
       คำว่า ธรรมราชาจึงมีความสำคัญต่อการตั้งพระนามของพระมหากษัตริย์ในยุคต่างๆ หลายพระองค์ เช่น พระเจ้ากือนาธรรมิกราช พระเจ้าธรรมิกราช  สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา  จากคุณค่าและความสำคัญของ ธรรมราชาดังกล่าวข้างต้นนั้น บทความนี้ จึงให้ความสำคัญ และพยายามจะตอบคำถามว่า ธรรมราชาคืออะไร? และการที่จะเป็น ธรรมราชาซึ่งหมายถึงการทำให้ผู้อื่น หรือประชาชนเกิดความพึงพอใจโดยธรรมนั้น คำว่า ธรรมในบริบทนี้ หมายถึงธรรมข้อใดบ้าง

จุดเริ่มต้นกำเนิดความโลภของมนุษย์และสังคม 
                   
                   พระพุทธองค์ทรงออกบวชเพื่อค้นหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ปวงชนชาวไทยมัววุ่นวายอะไรกันในปีม้า พ.ศ. ๒๕๕๗ ในที่นี้ผู้เขียนไม่ขอเลือกข้างใดข้างหนึ่ง เพราะถ้าหากบอกว่าผมไม่ขอเลือกข้างขอหนีไปให้ "สุดซอย"ก็แล้วกัน ก็จะมีคนเข้าใจและตีความว่าผมเลือกข้างหนึ่ง หากบอกว่างั้นขอหลบสุด"โต่ง"ไปเลย ก็อาจจะมีคนหาว่าผมเลือกอีกข้างหนึ่ง ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นชาวพุทธ(แท้)คนหนึ่ง ขอยึดหลักทางสายกลาง "มัชฌิมาปฏิปทา" ขอเดินทางตามรอยบาทองค์พระศาสดานั่นคือการ "ปฏิรูป" เฮ้ย....(เริ่มเอียงอีแว้ว..งะ) "ทางสายกลางไม่ได้ขีดเส้นใต้ไว้ว่าตรงไหนเป็นกลางในทางการเมือง เพราะในทางการเมืองมันหาความเป็นกลางตามแนวทางพุทธศาสนาไม่ได้เลย..." (ศ.จำนงค์ทอง ประเสริฐ)
             เอ๊าหนะ..ไหนๆเราก็ตกล่องปล่องชิ้นกลายเป็นคนไทยไปด้วยกันหมดแล้วทั้งพวกประท้วงเย้วๆ กับพวกที่ยังสงบนิ่ง ยิ่งสรรพคุณไทยพุทธซะด้วยอย่าให้ขายหน้าชาวต่างชาติเค้าที่ห้นหน้าเข้าหาพุทธแท้ แต่เราคนไทยยังเกาะติดหนึบที่เปลือกและกระพี้ซะแน่น..แล้วประกาศไปทั่วแคว้นให้คนทั้งโลกรู้ว่า "นี่มันแก่นพุทธนะ"..ซะงั้น   
                 ตอนนี้ จะเห็นได้ว่าสถานภาพคนไทยในสายตาโลกเหมือนอยู่ในข่าย "คนบ้า" ท่านว่าม๊ะ.(ผมเข้าใจอย่างงั้นนะ) อย่าพึ่งอุจาระหดหรือตดหายนะครับ...ผมเพียงกำลังจะบอกว่า โดยปกติคนบ้าก็ไม่เคยยอมรับว่าตัวเองเป็นคนบ้าอยู่แล้ว ทุกครั้งที่เราเห็นคนอื่นเป็นคนบ้าเพราะเราจะมองออกนอกตัวเองเสมอว่าคนนั่นบ้าคนนี้บ้า แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามเราตกไปอยู่ในกลุ่มของคนบ้า เราเองนั่นแหละจะเป็นคนวิกลจริต"คนบ้า"ในสายตาของคนกลุ่มนั่นทันที  จึงกลายเป็นมูลเหตุให้ผู้เขียนเกิดแรงจูงในการเขียนในวันนี้..เรื่องมีอยู่ว่า
                     ...ทุกเช้าผู้เขียนต้องไปซื้อกาแฟที่ซอย ๑ นครปฐม  ร้าน A&M (โฆษณาให้ด้วย) ก่อนเข้าทำงานเสมอ  และเกือบจะทุกวันก็จะเห็นคนบ้า(ฉลาด)คนหนึ่ง ซึ่้งดูก็ไม่เหมือนคนบ้าทั่วๆไปที่แต่งตัวสกปรกโสดโครกบ้าหอบฟางอะไร"เทือก"นั้น  ส่วนคนนี้ เค้าจะไม่แต่งตัวสกปรกโสโครก แต่กลับใส่ชุดขาวเสมือนหนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติธรรมผู้ทรงศีล และจะเดินเข้าหาคนแล้วนั่งลงประณมมือไหว้(สวยมากๆ)แล้วยื่นมือออกไปขอตังค์ผู้มีเมตตาปราถนาซึ่งบุญทั้งหลาย  แต่สรุปว่าเค้าน่ะ.."คนบ้า" ถึงแม้จะบ้า..เค้ากลับฉลาดเลือกทีจะใช้สัญลักษณ์ของคนดีเป็นเครื่องมือในการขอทาน ครั้งแรกที่เค้ามานั่งประณมมือแล้วยื่นมือมาขอเงินจากผม ผมก็กระอักกระอ่วนใจที่จะให้ คือถ้าฉันให้เค้าไป 
                    "ฉันจะเป็นคนดีในสายตาคนบ้า..หรือว่าฉันจะเป็นคนงี่เง่าในสายตาคนดี"
                  ซึ่งคนในระแวกนั่นต่างสาดสายตาจับจ้องมองมาที่ผมเสมือนหนึ่งว่า "ตัวโง่รายใหม่" เห็นไหมครับ..แม้แต่สถานการณ์เล็กๆ มันยังกดดันให้เราเลือกข้าง..แล้วทุกวันนี้หละ...สถานการณ์บ้านเมืองมันใหญ่เกินกว่าที่เราจะยืนมองรึเปล่า? อิอิอิ..เพื่อความสมานฉันท์วันนี้ผมขอเดินตามทางพุทธองค์ก็แล้วกัน...มันจึงเป็นที่มาของบทความในวันนี้.... เอ้า!ลุยเล๊ย


กำเนิดความ"โลภ"บนมนุษยชาติ (ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน)
อัคคัญญสูตร (ที.ปา. ๑๑/๕๑-๗๒) แสดงทัศนะสำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของพัฒนาการจนกระทั่งการเกิดชนชั้นผู้ปกครองและชนชั้นอื่น ๆ ในสังคม จุดมุ่งหมายของพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทรงประสงค์จะแย้งทัศนะเรื่องชนชั้นของพราหมณ์ที่เป็นแนวคิดกระแสหลักของสังคมอินเดียโบราณ ที่มองว่า พราหมณ์เป็นวรรณะที่ประเสริฐที่สุดเพียงวรรณะเดียว เป็นวรรณะเดียวที่บริสุทธิ์"
รวมทั้งเรื่องพัฒนาการทางสังคมมนุษย์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกำเนิดโลกจนถึงกำเนิดชนชั้นทางสังคม เพื่อพระองค์จะชี้ให้เห็นว่า "สังคมมนุษย์กำเนิดมาอย่างไร"  พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ เหล่าสัตว์โดยมากจะเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นสำเร็จสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยใจคิด มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีแผ่รอบกาย สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ต่อมา เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่โดยมาก เหล่าสัตว์จฺติจากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาบนโลก  และสัตว์เหล่านั้นคงมีลักษณะเดิมทุกอย่าง คือทำทุกสิ่งได้ด้วยใจคิด มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีแผ่รอบกาย สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม..." (ที.ปา. ๑๑/๕๖)
พระสูตรกล่าวว่าจักรวาลในยุคเริ่มแรกเต็มไปด้วยน้ำ มีแต่ความมืด มองไม่เห็นอะไร ไม่มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดาว ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืน ไม่มีเดือน ไม่มีฤดู ไม่มีปี บรรดาสัตว์ทั้งหลายไม่มีความแตกต่างในทางกายภาพ ไม่มีความแตกต่างทางผิวพรรณ แม้แต่เพศหญิงหรือเพศชายก็ยังไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งอันนับเพียงสักแต่ว่าสัตว์เท่านั้น แต่สภาพการณ์เริ่มแรกค่อย ๆ พัฒนาสู่ความแตกต่าง เมื่อสภาพทางกายภาพของโลกเริ่มเปลี่ยน มี "ง้วนดิน"uลอยอยู่บนน้ำและสัตว์บางคนเริ่มมีปฏิกิริยาต่อโลกทางกายภาพโดยการลองชิม ง้วนดิน ที่มีสีกลิ่นและรสคล้ายเนยใสและเนยข้นอย่างดี และ ความอยาก จึงบังเกิดแก่สัตว์เหล่านั้น แล้วปั้นเป็นคำ ๆ เพื่อบริโภค สิ่งแรกที่เปลี่ยนแปลงก็คือรัศมีที่เคยมีในกายก็หายไปสิ้น จากนั้นจึงปรากฏดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้น หมู่ดาวนักษัตรก็ปรากฏ ความเปลี่ยนแปลงทางโลกกายภาพทำให้ความคิดเรื่องเวลาก็เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก
ต่อมาง้วนดินของเหล่าสัตว์หายไป เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมาแทนคือ "กะบิดิน"v พวกสัตว์จึงบริโภคกะบิดินเป็นอาหารแทนง้วนดิน  เวลาผ่านไปอย่างยาวนาน อาหารที่บริโภค (กะบิดิน) ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ผิวพรรณเริ่มเกิดความแตกต่างกัน ความแตกต่างทางผิวพรรณทำให้เหล่าสัตว์บางพวกที่มีผิวพรรณดีดูหมิ่นสัตว์ที่ผิวพรรณเลว ความถือตัว (มานะ) ของสัตว์เริ่มบังเกิดขึ้น ในที่สุดกะบิดินได้หายไป ต่อมาเกิด "เครือดิน"wขึ้น สัตว์เหล่านั้นจึงดำรงชีวิตอยู่ได้ต่อไปโดยอาศัยเครือดินเป็นอาหาร ร่างกายผิวพรรณแตกต่างกันชัดขึ้นตามลำดับ การเหยียดผิวพรรณระหว่างกันก็เกิดขึ้นตามลำดับเช่นกัน จนกระทั่งเครือดินหายไป  จึงมี ข้าวสาลี"xบังเกิดขึ้นในที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสาร เมื่อพวกสัตว์ขนเอาข้าวสาลีในที่ใดมาบริโภคในเวลาเย็น ตอนเช้าข้าวสาลีก็สุกงอมขึ้นมาแทนที่เดิม เมื่อขนมาบริโภคในตอนเช้า ข้าวสาลีก็จะงอกขึ้นมาได้ทันในตอนเย็น เมื่อสัตว์บริโภคข้าวสาลีอยู่เป็นเวลายาวนาน ร่างกายก็ยิ่งกล้าแข็งขึ้น ความเป็นผู้มีผิวพรรณงามก็ยิ่งปรากฏได้ชัดเจนขึ้น แล้วในที่สุดก็ปรากฏเพศชายเพศหญิง ความแตกต่างระหว่างเพศจัดว่าเป็นความแตกต่างชนิดที่ปรากฏขึ้นเป็นอันดับสองรองจากความแตกต่างทางสีผิว
ความแตกต่างระหว่างเพศดึงดูดกันและกัน ชายเพ่งดูหญิงหญิงก็มองดูเพศชาย ความกำหนัดเกิดขึ้น จึงมีเพศสัมพันธ์กัน เมื่อชุมชนของสัตว์ถือว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกันที่เกิดขึ้นครั้งแรกนั้นเป็นการกระทำที่เลวทราม จึงพากันขับไล่ออกจากชุมชน ทำให้สังคมและวิถีชีวิตของสัตว์พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง คือเกิดครอบครัวและมีการสร้างบ้านเรือนอาศัยเพื่อปิดบัง " เมถุนธรรม"
                 จากนั้นได้พัฒนาสู่ความคิดเรื่อง การกักตุนอาหาร เอาไว้ในบ้านเรือนเนื่องจากเห็นว่า การที่ต้องไปเก็บเกี่ยวข้าวสาลีเช้าเย็นนั้นสร้างความลำบากแก่ตัวเองเกินไป จากหนึ่งคนก็นิยมแพร่หลายไปในสังคม การกักตุนข้าวสาลีเพื่อบริโภคเป็นที่นิยมของเหล่าสัตว์ และความต้องการที่จะกักตุนอาหารไว้บริโภคเป็นเวลานาน ๆ จากที่ต้องการตุนข้าวสาลีไว้เพื่อบริโภควันเดียวเป็นตุนไว้เพื่อบริโภคสี่วัน ทำให้เกิดความขาดแคลน เพราะข้าวสาลีงอกไม่ทันกับความต้องการของมนุษย์ที่โลภมากขึ้นตามลำดับ เมื่อประสพความเดือดร้อนเรื่องอาหาร สัตว์ทั้งหลายจึงได้พากันมาประชุมพิจารณาเรื่องราวที่ผ่านมา ครั้งนั้นแล สัตว์ทั้งหลายจึงพากันแบ่งข้าวสาลีและกั้นเขตคันกันขึ้น (ที.ปา. ๑๑/๖๒) การแบ่งข้าวสาลีและกั้นเขตแดนก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน(พื้นที่ในการหาอาหาร)ในหมู่สัตว์ เป็นครั้งแรกที่พวกสัตว์ตระหนักและหวงแหนในสิ่งที่พวกเขาครอบครอง ดังนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อ สัตว์บางเหล่ามีความโลเล รักษาส่วนของตนไว้ และถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ได้ให้มาบริโภค(ละเมิดทรัพย์สินคนอื่น /เกิดอทินนาทาน) สังคมก็ได้เคลื่อนไปถึงจุดที่บังเกิดความวุ่นวายและความรุนแรงอื่น ๆ ตามมา เพื่อจะควบคุมความวุ่นวายและกำจัดความรุนแรงที่บังเกิดขึ้นในสังคมนั่นเอง สังคมเริ่มแรกของมนุษย์ก็ได้พัฒนาไปอีกขึ้นหนึ่ง อันเป็นจุดเริ่มต้นของการมีผู้ปกครอง และรัฐในยุคต่อๆมา 

               จะเห็นได้ว่า "กิเลส" ของสัตว์เริ่มพัฒนาการมาจากความอยากได้(โลภะ)และพัฒนามาตามลำดับ ถ้าไม่มีกิเลสแล้วไซร์ เราท่านทั้งหลายคงไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด กิเลสมันจะเจริญงอกงามได้ก็ต่อเมื่อมันได้รับสิ่งเร้า เปรียบเสมือน"เมล็ดพืช" หากหว่านลงพื้นดินแต่ไม่มีสิ่งเร้าก็ไม่สามารถจะเกิดงอกงามขึ้นมาได้ มันต้องอาศัยสิ่งเร้า เช่น ได้รับน้ำ อากาศ โอชะแห่งดิน มันถึงจะเจริญงอกงาม เช่นเดียวกันกิเลสในจิตใจหากเราไม่ไปกระตุ้นมันด้วยสิ่งเร้า(ความอยาก ความโกรธ ความหลงงมงาย) มันก็จะค่อยๆฟ่อและเหี่ยวแห้งไปตามธรรมชาติเช่นกัน 

 เพราะมีสัตว์บางพวกมีความโลภต้องการส่วนที่อยู่ในการครอบครองของคนอื่นและทำการละเมิดในส่วนของสัตว์อื่น บาปทางสังคมประการแรกที่เกิดขึ้นก็คือ"การละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินคนอื่น" จากนั้นจึงนำไปสู่การละเมิดทางกาย คือการทำร้ายด้วยมือ ก้อนหิน และท่อนไม้ตามลำดับ ความหวาดกลัวต่อทารุณกรรมและความตายทำให้สัตว์พยายามเอาตัวรอดโดยการกล่าวเท็จ (มุสาวาท) เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการใช้อาวุธ (ก้อนหิน/ท่อนไม้) ทำร้ายกัน การกล่าวเท็จเกิดขึ้น พวกผู้ใหญ่ที่มีความคิดและเห็นว่า มี บาปธรรมเกิดขึ้นในสังคม และจำเป็นต้องขจัด บาปธรรม เหล่านั้นจากสังคม จึงประชุมตกลงกันแต่งตั้ง สัตว์ที่สวยงามกว่า น่าดูน่าชมกว่า น่าเลื่อมใสกว่า และน่าเกรงขามมากกว่าสัตว์ทุกคน ขึ้นมาทำหน้าที่ จงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ จงติเตียนผู้ที่ควรติเตียนได้โดยชอบ จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ และชนทั้งหลายก็จะให้ข้าวสาลีเป็นการตอบแทนแก่เขา ดังนั้นบุคคลเช่นนี้ จึงไม่ต้องทำมาหากินเหมือน เพราะต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความ การแบ่งส่วนของตนให้กับบุคคลที่ยกย่องให้เป็นใหญ่ขึ้นมาก็เกิดขึ้น จึงเกิดระบบที่เรียกว่า "ภาษี"และระบบราชการตามมา... 
 ในที่สุด สังคมจึงได้พัฒนาการมาถึงจุดที่มี "ผู้ปกครอง" และ "รัฐ" 
          "ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้าอันมหาชนสมมติ ดังนี้แล อักขระว่า มหาชนสมมติ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับแรกเพราะเหตุผู้ที่เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่งแห่งเขตทั้งหลาย ดังนี้แล อักขระว่ากษัตริย์ กษัตริย์ จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สอง เพราะเหตุที่ผู้เป็นหัวหน้ายังชนเหล่าอื่นให้สุขใจได้โดยธรรม ดังนี้แล อักขระว่า ราชา ราชา จึงอุบัติขึ้นเป็นอันดับที่สาม ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ด้วยประการดังนี้แล การบังเกิดขึ้นแห่งพวกกษัตริย์นั้น มีขึ้นได้ เพราะอักขระที่รู้กันว่าเป็นของดี เป็นของโบราณ" (ที.ปา. ๑๑/๖๓)

จากข้อความดังกล่าว อัคคัญญสูตรแสดงให้เห็นจุดกำเนิดของชนชั้นต่างๆ ที่เป็นไปตามช่วงเวลาและความจำเป็นของสังคม กลุ่มชนชั้นที่มีชื่อต่าง ๆ กันสัมพันธ์กับลักษณะการงานและการดำรงชีวิต เมื่อเราพิจารณาเนื้อหาพระสูตรส่วนนี้กับส่วนแรกคือ ส่วนที่พระพุทธเจ้าทรงวิพากษ์วิจารณ์ว่า การประเมินคุณค่าของมนุษย์หรือการกระทำของมนุษย์โดยยึดวรรณะหรือชาติกำเนิดเป็นที่ตั้งนั้นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง  แสดงให้เห็นทัศนะของพระพุทธศาสนาที่ว่า การจำแนกสังคมเป็นระดับชั้น (Hierarchy) โดยมองว่ามีชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งพิเศษกว่าชนชั้นอื่นนั้น ไม่สอดคล้องกับลักษณะพัฒนาการทางสังคมที่แท้จริง พระพุทธศาสนามองว่า มนุษย์ในสังคมแตกต่างกันในลักษณะแนวนอนมิใช่แนวดิ่ง คือแบ่งเป็นกลุ่มตามอำนาจหน้าที่ที่ตนเองเกี่ยวข้อง แต่ไม่มี สิทธิพิเศษ ใดได้มาโดยไม่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ในสังคม แม้แต่อำนาจหรือสิทธิพิเศษที่ผู้ปกครองได้มานั้นก็เป็นสิทธิพิเศษที่ได้จากการยินยอมของคนอื่น ๆ ในสังคมมิใช่โดยการกำหนดจากสิ่งอื่นใดเหนืออำนาจของมนุษย์ 
อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธว่ามีไม่มีความแตกต่างกันระหว่างมนุษย์ในสังคม ความแตกต่างทางสังคมนั้นมีได้ กล่าวคือ มนุษย์ประเสริฐกว่าคนอื่นด้วยธรรมและด้วยกรรม ธรรมหมายถึงคุณธรรมที่ฝึกฝนอบรมตน ส่วนกรรมหมายถึงการกระทำที่แสดงออกทั้งภายนอก (คือทางกายวาจา) และการกระทำภายใน (คือการกระทำทางใจ)
ดยรวมแล้ว พระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมมีผลต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ ในขณะเดียวกัน พฤติกรรมของมนุษย์ก็มีผลกระทบทั้งต่อสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของมนุษย์ด้วยกันเอง พัฒนการทางสังคมเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน ลักษณะทางจิตวิทยา เช่น ความปรารถนาของมนุษย์ก็มีบทบาทสำคัญในขั้นตอนของพัฒนาการทางสังคม ดังเราจะเห็นว่า สัตว์เริ่มสงสัยต่อสภาพแวดล้อมที่ตนเองได้ประสบ ความอยากรู้อยากเห็น และกระทำการเพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น (การลองชิมง้วนดิน) โดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นจะมีผลต่อระบบร่างกายของตน ปัจจัยภายนอกที่มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการคือสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในบางลักษณะโดยเฉพาะในที่นี้คือ การบริโภคอาหาร ซึ่งเริ่มต้นจากความสงสัยใคร่รู้และความอยาก แต่มีผลสืบเนื่องต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญทำให้บาปธรรมปรากฏขึ้น เมื่อความประสงค์ที่จะตอบสนองต่อความจำเป็นทางร่างกายสำหรับบางคนได้พัฒนาไปเป็นความโลภ  ซึ่งทำให้สัตว์เริ่มเห็นความจำเป็นในการครอบครองกรรมสิทธิ์และกระทั่งนำไปสู่การละเมิดของคนอื่น เบื้องหลังพฤติกรรมก็คือ ความปรารถนาภายในของมนุษย์ อันได้แก่ ความโลภ ในปัจจัยเพื่อการบริโภคนั่นเอง บาปธรรมอื่น ๆ เช่น การทำร้ายร่างกาย การประหารกันเอง รวมทั้งการบิดบังความจริง (การกล่าวเท็จ) เพราะความกลัวต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิต  เป็นผลสืบเนื่องที่ตามมาจากพฤติกรรมที่ถูกกระตุ้นด้วยความโลภ น่าสังเกตว่า บาปธรรม และ อธรรม ในพระสูตรนี้ มีนัยสัมพันธ์กับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และสังคม พฤติกรรมที่เป็นบาปธรรมหรืออธรรมก็คือพฤติกรรมที่ละเมิดหลักการหรือมาตรฐานขั้นต่ำของของการดำรงชีวิตของปัจเจกบุคคลและสังคมนั่นเอง

มนุษย์ต้องการชีวิตที่ดี กล่าวคือ มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อเขาได้อาศัยอยู่ในสังคมที่ดี มีความเป็นธรรม ความปรารถนาจะอยู่ในสังคมที่ดีทำให้เขามองเห็นความจำเป็นที่ต้องกำจัดหรือจำกัดสภาพเลวร้าย (อธรรม) ออกไป พระสูตรบรรยายว่า การเกิดขึ้นของมหาสมมติหรือผู้ปกครองสืบเนื่องจากมนุษย์ตระหนักว่า จำเป็นต้องมีกลไกที่จะช่วยให้สังคมดำเนินไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต จึงได้ตกลงกันแต่งตั้ง มหาสมมติ หรือ ผู้ปกครอง ขึ้นมาทำหน้าที่แทน โดยสัญญาว่าจะให้สิ่งของตอบแทนสำหรับผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การมีชีวิตที่ดีนี้ไม่เพียงแต่จะต้องมีผู้ปกครองเท่านั้นหากแต่จะต้องมีผู้ปกครองที่ทำหน้าที่อย่างเป็นธรรมด้วย กล่าวคือ ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ ผู้ปกครองที่ทำหน้าที่ได้อย่างสอดคล้องกับหลักดังกล่าวนี้ย่อมเป็นผู้ปกครองที่น่าปรารถนาและน่าชื่นชมของคนจนถึงปัจจุบัน 

พระสงฆ์กับการขับเคลื่อนทางการเมือง

               "การเสพการเมือง"  ผมไม่เคยปฏิเสธการเมืองว่าการเมือง"ไม่ดี " การเสพข้อมูลด้านการเมืองในแต่ละวันมีให้เลือกเสพหลากหลายช่องทาง แต่เมื่อใดก็ตามหากท่านเสพการเมืองแล้วท่านเกิดความ "ทุกข์" ท่านจะมาบอกว่าการเมืองนู้นนี่นั่น "โง่" แล้วเลิกบริโภคข้อมูลข่าวสารก็หาใช่ "เปรียบเสมือนการบริโภคปลา ถ้าหากเราเอาก้างออกเสียก่อนแล้วกินปลาซะ..ก็ไม่เป็นไร แต่หากยังทะลึ่งดึงดันกินไปทั้งตัวก้างปลาก็อาจจะติดคอได้ แล้วมานั่งบอกชาวบ้านว่าปลาไม่ดีก็ไม่ได้ หรือเราจะกินมังคุดเรากัดกินทั้งเปลือกแล้วมาบอกว่ามังคุตทำไมฝาดแล้วก็ขว้างทิ้ง หาใช่เป็นเป็นความผิดของมังคุตไม่ แต่มันเป็นความเขลาของเราต่างหาก..." อาเมน

                     ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักหลักการที่เป็น "อธิปไตย" ในทางพระพุทธศาสนาก่อน พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ ๓ ประการได้แก่ 

                   ๑. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตนเอง ฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของตนเป็นใหญ่ กระทำการด้วยการปรารภตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นประมาณ ในฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นชั่ว ทำดี ด้วยเคารพตน

                    . โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ คือ ถือความนิยมของชาวโลกเป็นใหญ่ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ กระทำด้วยปรารถนาจะเอาใจผู้นั้น หาความนิยม หรือหวั่นกลัวเสียงกล่าวว่าเป็นประมาณ ในฝ่ายกุศลได้แก่ เว้นชั่ว ทำดีด้วยเคารพเสียงหมู่ชน

                ๓. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ถือหลักการความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผลเป็นใหญ่ กระทำด้วยปรารภสิ่งที่ได้ศึกษา ตรวจสอบตามข้อเท็จจริง และความเห็นที่รับฟังอย่างกว้างขวาง แจ้งชัด และพิจารณาอย่างดีที่สุด เต็มขีดแห่งสติปัญญา มองเห็นได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นไปโดยชอบธรรม และเพื่อความดีงามเป็นประมาณ อย่างสามัญได้แก่ ทำการด้วยความเคารพ หลักการ กฎ ระเบียบ กติกา เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ถ้าต้องการรับผิดชอบต่อรัฐประชาธิปไตย หรือหลักข้อ ๓ คือ "ธรรมาธิปไตย"

          โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปกครองแบบ "ประชาธิปไตย"  นักวิชาการทางพุทธศาสนาอย่างเช่น พระธรรมปิฎกมองว่า "การปกครองนั้น หากเป็นไปเพื่ออยากได้ผลประโยชน์ อยากใหญ่ อยากโต อยากมีอำนาจ อยากได้อะไรๆ ต้องเป็นไปตามความยึดถือของตน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับจริยธรรม ถ้าถูกตัณหา มานะ หรือ ทิฏฐิครอบงำ แน่นอนว่า จริยธรรมเดินไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทางแก้ไขเรื่องนี้ก็คือ จะต้องมีการพัฒนาความอยากให้มันดี และอยากทำให้มันดีนี้ให้เข้มข้น แรงกล้า ให้เป็นไปอย่างมุ่งมั่นที่สุด ให้ฝังลึกลงไปประจำอยู่ในจิตใจให้ได้"
           เพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองของไทย เราควรรู้จักคำนิยามของคำว่า"ประชาธิปไตย"ให้ชัดเจนก่อน  คำๆนี้ใช้ใน ๓ ความหมายใหญ่ๆ ซึ่งถ้ากำหนดเป็น วงกรอบหรือฐานะใหญ่ๆ ได้ ๓ ฐานะด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ๑) เชิงความคิด ๒) รูปแบบการปกครอง และ ๓) วิถีชีวิต โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมโดยสังเขปคือ

                   ๑. ในฐานะเป็นปรัชญา (Phi-osophy) ทฤษฎีหรืออุดมการณ์ทางการเมือง ประชาธิปไตยในความหมายนี้ มุ่งเน้นไปในเรื่องของความคิด เป็นสภาพทางมโนกรรมทั้งของผู้นำและคนทั่วไป คือ ทั้งของผู้บริหารประเทศ และ พลเมืองทั่วไป

          ๒. ในฐานะเป็นรูปแบบการปกครอง (Forms of Government) เป็นการพิจารณาประชาธิปไตยในเชิงโครงสร้างของรัฐบาลแบบประชาธิปไตย เช่น เป็นระบบรัฐสภา เป็นระบบประธานาธิบดี

                   ๓. ในฐานะเป็นวิถีชีวิต (Way of -ife) หมายถึง
                              ๓.๑  วิถีทางแห่งการยอมรับเสียงข้างมาก
                              ๓.๒  ความมีใจกว้าง
                              ๓.๓  การมีขันติธรรม
                              ๓.๔  การไม่ใช้ความรุนแรง
                          ๓.๕ การเอาใจใส่ในกิจการบ้านเมือง (การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง) อันเป็นเรื่องการประพฤติในสังคม

          จากที่ได้นิยามความหมายของคำว่า "ประชาธิปไตย" มาโดยสังเขปนั้น ก็พอจะประมวลลักษณะที่สำคัญของการปกครองแบบประชาธิปไตยได้เป็น ๔ ประการ ดังต่อไปนี้
         ๑. ประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือ ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในรัฐ อาจใช้อำนาจทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้
           ๒. ประชาชนทุกคนในรัฐ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจน มีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตของกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
        ๓. การดำเนินการต่างๆ ของรัฐนั้น คือ เอามติของเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน แต่ในขณะเดียวกันเสียงข้างน้อยหรือคนส่วนน้อยของรัฐ จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายที่ป้องกันมิให้ประชาชนส่วนใหญ่ กดขี่ข่มเหงอย่างผิดกฎหมาย และผิดทำนองคลองธรรม
         ๔. กระบวนการของประชาธิปไตย คือ วิธีการปกครองซึ่งได้รับความยินยอมพร้อมใจของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงออกในรูปของการเลือกตั้ง การอภิปราย การออกเสียง ประชามติ การเสนอร่างกฎหมายของประชาชน เป็นต้น


               พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำว่า "ประชาธิปไตย" ไว้ ๒ ประการก็คือ


           ๑. ถ้าคนส่วนใหญ่เป็นคนโง่ เสียงข้างมากที่วินิจฉัยก็จะเป็นการตัดสินใจเลือกอย่าง โง่ๆ หรือแม้แต่เลือกไปตามที่ถูกเขาหลอกล่อ ทำให้ผิดพลาดเสียหาย แต่ถ้าคนส่วนใหญ่เป็นคนดี มีปัญญา ก็จะได้เสียงข้างมากที่ตัดสินใจเลือกได้ถูกต้อง บังเกิดผลดี จึงต้องให้ประชาชนมีการศึกษา หรือจะได้เสียงข้างมากที่ตัดสินใจอย่างผู้มีปัญญา

           ๒. ความจริงของสิ่งทั้งหลายย่อมเป็นอย่างที่มันเป็น มันย่อมไม่เป็นไปตามการบอก การสั่ง การลงคะแนนเสียง หรือตามความต้องการของคน ดังนั้น คนจะไปตัดสินความจริง ไม่ได้ แต่เป็นหน้าที่ของคนเองที่จะต้องตัดสินใจเลือกสิ่งที่เป็นจริง จึงต้องให้ประชาชนมี การศึกษา เพื่อจะได้เสียงข้างมากที่ตัดสินใจเลือกเอาสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริง

           จะเห็นได้ว่า "เสียงข้างมากตัดสินความจริงไม่ได้" อันนี้เป็นหลักธรรมดา เรา"ตัดสินใจ" ไม่ใช่"ตัดสินความจริง" ถ้าเอาเสียงข้างมากมาตัดสินความจริงมันเป็นไปไม่ได้อย่างแท้แน่นอน.....

                  ท้ายสุด..ขอสรุปย่อๆในเรื่องหลักธรรมที่ควรส่งเสริมให้เจริญงอกงามขึ้นในทางการเมืองไทยก็แล้วกันนะครับ..น้องๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารประกอบการสอน ผศ.ดร.ชาญณรงค์  บุญหนุน..นะจ๊ะ..บ๊ายๆ

                    แต่สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไว้คือ การแต้มสีให้พระสงฆ์รวมถึงการผลักพระสงฆ์ให้เลือกข้างทางการเมือง..ถือว่าไม่ควรและไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง..อย่าทำนะเลยยกตัวอย่างมาให้ดูตามคลิป....ที่สังคมแต้มสีให้พระสงฆ์ทั้ง ๓ ท่าน.....

                 หลักธรรมที่ควรส่งเสริมทางการเมือง 
                            (ความสามัคคี : ความปรองดอง)





แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า